วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ

บทที่ 9

การรักษาความปลอดภัยของระบบ


 แพล็ตฟอร์ม คือสภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARC station, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน ก็จะมี Platform ที่ต่างกันไปด้วย  
     Platform จะประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ  ,โปรแกรมประสานงานระบบคอมพิวเตอร์ และ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่ง Microchip ของคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้ายตรรกะ และจัดการการเคลื่อนย้ายข้อมูล ระบบปฏิบัติการต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานกับคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ เช่น Microsoft Windows 95 ได้รับการสร้างให้ทำงานกับชุดคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ของ Intel เพื่อการใช้คำสั่งร่วมกัน นอกจากนี้ ยังหมายถึงส่วนอื่น ๆ เช่น เมนบอร์ด และ บัสของข้อมูล แต่ส่วนเหล่านี้กำลังเพิ่มลักษณะที่เป็นโมดูล และมาตรฐานมากขึ้น ในอดีตโปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมยังจะเขียนใหม่ให้ทำงานเฉพาะ platform เนื่องจากแต่ละ Platform มีโปรแกรมอินเตอร์เฟซที่ต่างกัน ดังนั้น โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต้องมีการเขียนให้ทำงานกับ Windows ชุดหนึ่ง และทำงานกับ Macintosh อีกชุดหนึ่ง แต่ระบบเปิดหรือมาตรฐานด้านอินเตอร์เฟซยินยอมให้บางโปรแกรมทำงานกับ Platform ที่ต่างกันโดยผ่านโปรแกรมตัวกลาง หรือ broker Programs

การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม
    
คอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันหรือกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำหใ้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ง่ายขึ้น






การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย

1.การตั้งค่าความปลอดภัยเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลของคุณด้วยการเข้ารหัสเมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยการจัดเก็บข้อมูลในฟอร์แมตที่เข้ารหัสเมื่อเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และด้วยการใช้โทเค็นความปลอดภัยสำหรับการรับรองความถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าข้อมูลของคุณจะได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในขณะที่ถ่ายโอนไปที่อุปกรณ์ของคุณและเมื่อถูกจัดเก็บไว้ใน iCloud โดย iCloud จะใช้การเข้ารหัส AES อย่างน้อย 128 บิต ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการรักษาความปลอดภัยที่ใช้โดยสถาบันการเงินรายใหญ่ๆ และจะไม่ให้กุญแจการเข้ารหัสแก่บุคคลที่สามอย่างเด็ดขาด
2.การสำรองเเละกู้คืนข้อมูล
การวางแผนกลยุทธ์ในการสำรองข้อมูลและกู้คืน
การบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของคุณจะใช้เวลานานและจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับ. อย่างไรก็ตาม, ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องสำรองข้อมูล เนื่องจากคุณไม่รู้ว่า เมื่อใดที่คุณจำเป็นต้องทำการกู้คืนระบบ. ข้อมูลนี้ช่วยให้คุณวางแผนกลยุทธ์ที่คุณสามารถใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่า ข้อมูลทั้งหมดของคุณถูกสำรองไว้แล้วตามเวลา และด้วยวิธีที่คุณสามารถกู้คืนได้อย่างง่ายดาย.

การสำรองข้อมูล, การกู้คืน และการให้บริการทางสื่อ
การสำรองข้อมูล, การกู้คืน และการให้บริการทางสื่อ (BRMS) ช่วยให้คุณนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ เพื่อจัดการการสำรองข้อมูลของคุณ, และแสดงวิธีอย่างเป็นลำดับในการกู้คืนข้อมูลที่สูญหาย หรือถูกทำให้เสียหาย และจัดการกับสื่อบันทึก. ฟังก์ชันของ BRMS ต่างๆ พร้อมใช้งานผ่านปลั๊กอินเข้ากับ iSeries Navigator.

Back up your server
ใช้ข้อมูลนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีต่างๆ ที่คุณสามารถสำรองข้อมูลระบบของคุณ และนำกลยุทธ์การบันทึกของคุณไปปฏิบัติ. หากคุณมีกลยุทธ์ปกติ, คุณสามารใช้เมนู Save อ็อพชัน 21 ของคำสั่ง GO SAVE ได้. หากคุณมีกลยุทธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน, คุณสามารถบันทึกส่วนของระบบแบบแมนนวลได้, คุณสามารถบันทึกระบบของคุณ ขณะที่ระบบกำลังแอ็คทีฟ, หรือคุณสามารถบันทึกระบบของคุณด้วยอุปกรณ์จำนวนมากได้.

การกู้คืนเซิร์ฟเวอร์ของคุณ
ใช้ข้อมูลนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการกู้คืนระบบของคุณ. ข้อมูลนี้แสดงลิงก์ไปยังคู่มือการสำรองข้อมูลและการกู้คืน และหัวข้อ information center ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการกู้คืน.

FAQ การสำรองข้อมูลและการกู้คืน
ใช้ปัญหาที่ถามบ่อยเพื่อเข้าถึงการสำรองข้อมูล และขั้นตอนการกู้คืน และแนวคิด. FAQ มีลิงก์ที่นำคุณไปยังหัวข้อ information center เฉพาะ หรือส่วนของคู่มือการสำรองข้อมูลและการกู้คืน ที่ประกอบด้วยคำตอบของคำถามนั้น.

ควบคุมการปิดระบบโดยใช้โปรแกรม power-handling
ข้อมูลนี้อธิบายถึงวิธีที่คุณสามารถป้องกันฟังก์ชันของเซิร์ฟเวอร์จากการปิดระบบแบบผิดปกติ ในกรณีที่มีการสูญเสียพลังงาน.

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสำรองข้อมูลและการกู้คืนประกอบด้วยข้อมูลทางด้านเทคนิค, ความชำนาญ, แลข้อมูลแบบ "how"
3.การเปิด/ปิดการรับเเจ้งข่าวสาร ตัวอย่างเช่น
ใช้การแจ้งเตือนใน iPhone, iPad และ iPod touch
การแจ้งเตือนจะช่วยอัพเดทสิ่งต่างๆ เพื่อให้คุณไม่พลาดเรื่องราวตั้งแต่การเตือนภายในแอพไปจนถึงข้อมูลข่าวสารในวันนั้น

ใช้ศูนย์การแจ้งเตือน

ศูนย์การแจ้งเตือนจะแสดงการเตือนล่าสุด เช่น กิจกรรมในปฏิทิน หรือสายที่ไม่ได้รับ
หากต้องการดูศูนย์การแจ้งเตือน คุณสามารถปัดลงจากหน้าจอใดก็ได้ รวมถึงหน้าจอล็อคด้วย แตะการเตือนในศูนย์การแจ้งเตือนเพื่อเปิดใช้ หรือแตะ  เพื่อล้างการเตือน
หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถใช้ 3D Touch เพื่อตอบสนองการแจ้งเตือนในศูนย์การแจ้งเตือนได้ กดลงน้ำหนักที่การแจ้งเตือนเพื่อตอบสนอง คุณยังสามารถใช้ 3D Touch เพื่อล้างการแจ้งเตือนได้ด้วย เพียงกดลงน้ำหนักบน  แล้วแตะล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด
หากต้องการจำกัดสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอล็อค ให้เปลี่ยนการตั้งค่าการแจ้งเตือน

การแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อค

ใน iOS 10 คุณสามารถโต้ตอบกับการแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อคเพื่อติดตามข่าว ตอบกลับข้อความ และอื่นๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องปลดล็อคอุปกรณ์
ต่อไปนี้คือวิธีที่คุณสามารถดูและโต้ตอบกับการแจ้งเตือนจากหน้าจอล็อค
หากต้องการดูหน้าจอล็อค ให้กดปุ่มโฮมหรือปุ่มพัก/ปลุก หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า ให้ยกโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อดูหน้าจอล็อค
หากต้องการตอบการแจ้งเตือน ให้ปัดการแจ้งเตือนนั้นไปทางซ้าย แล้วแตะเพื่อตอบสนอง หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถใช้ 3D Touch ได้ เพียงกดลงน้ำหนักที่การแจ้งเตือน แล้วตอบกลับ
หากต้องการเปิดแอพเพื่อตอบกลับ ให้ปัดการแจ้งเตือนนั้นไปทางขวา

เปลี่ยนลักษณะการเตือนและการตั้งค่าการแจ้งเตือน

ปรับแต่งการแจ้งเตือนให้มีลักษณะการเตือนแตกต่างกันออกไป เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการกับอีเมล คำเชิญบนปฏิทิน ข้อความ และอื่นๆ อีกมากมายได้อย่างรวดเร็ว หากต้องการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการเตือนให้กับการแจ้งเตือน ให้ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วเลือกแอพ
การแจ้งเตือนจากแอพอาจมีลักษณะการเตือนดังต่อไปนี้
ป้ายประกาศ: การเตือนแบบป้ายประกาศจะปรากฏที่ด้านบนสุดของหน้าจอ แล้วหายไปโดยอัตโนมัติ หากต้องการตอบกลับ ให้ปัดลงจากป้ายประกาศ หรือปัดขึ้นเพื่อยกเลิก  หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถตอบสนองการเตือนแบบป้ายประกาศโดยใช้ 3D Touch เพียงกดลงน้ำหนักที่การเตือนแบบป้ายประกาศเพื่อตอบสนอง
การเตือน: สำหรับการเตือน คุณจะต้องดำเนินการก่อนที่คุณจะไปสู่ขั้นต่อไป โดยคุณสามารถปิดการเตือนนั้นหรือตอบกลับก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแอพนั้น
ป้ายกำกับ: ป้ายกำกับเป็นตัวเลขสีแดงที่อยู่บนไอคอนแอพ ซึ่งจะแสดงจำนวนการแจ้งเตือนที่อยู่ในแอพนั้นๆ ให้คุณเห็น
เสียง: ให้แอพเล่นเสียงเตือนคุณ เมื่อได้รับการแจ้งเตือน

ตั้งค่าการเตือนโดยอิงจากตำแหน่งที่ตั้ง

บางแอพใช้ตำแหน่งที่ตั้งเพื่อส่งการเตือนที่เกี่ยวข้องให้คุณโดยอิงจากตำแหน่งที่คุณอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณอาจได้รับการเตือนความจำให้โทรหาใครสักคนเมื่อคุณมายังสถานที่ที่ระบุไว้ หรือเมื่อคุณออกเดินทางไปยังสถานที่ต่อไป
คุณสามารถปิดได้หากคุณไม่ต้องการการเตือนประเภทนี้ ไปที่การตั้งค่า > ความเป็นส่วนตัว > บริการหาตำแหน่งที่ตั้ง แล้วแตะแอพเพื่อเปิดหรือปิดการเตือนที่อิงจากตำแหน่งที่ตั้งของคุณ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการหาตำแหน่งที่ตั้ง
หากคุณไม่เห็นการแจ้งเตือนของแอพบางแอพ

หากต้องการรับการแจ้งเตือน ให้เชื่อมต่อ Wi-Fi หรือเครือข่ายเซลลูลาร์ หากคุณไม่ได้รับการแจ้งเตือนจากแอพที่ต้องการ ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ดูให้แน่ใจว่าแอพนั้นรองรับการแจ้งเตือนหรือไม่ ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วเลือกแอพ และดูให้แน่ใจว่าเปิดการแจ้งเตือนไว้แล้ว
หากคุณเปิดการแจ้งเตือนสำหรับแอพแล้ว แต่ไม่ได้รับการเตือน เป็นไปได้ว่าลักษณะการเตือนอาจตั้งค่าไว้เป็น "ไม่มี" ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วตรวจสอบว่าลักษณะการเตือนถูกตั้งค่าให้เป็นป้ายประกาศหรือการเตือน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ลงชื่อเข้าใน Apple ID แล้ว ไปที่การตั้งค่า > iTunes Store และ App Store แล้วป้อน Apple ID และรหัสผ่านของคุณ
ดูให้แน่ใจว่าห้ามรบกวนปิดอยู่ ไปที่การตั้งค่า > ห้ามรบกวน แล้วแตะกำหนดเองหากเปิดอยู่
หากคุณเพิ่งติดตั้งแอพหรือกู้คืนจากข้อมูลสำรอง ให้เปิดแอพเพื่อเริ่มรับการแจ้งเตือน


4.การตั้งค่าระดับการควบคุมบัญชีผู้ใช้
การควบคุมบัญชีผู้ใช้จะแจ้งให้คุณทราบเมื่อโปรแกรมซอฟต์แวร์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งต้องใช้การอนุญาตในระดับผู้ดูแลระบบ การควบคุมบัญชีผู้ใช้จะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากการเปลี่ยนแปลงโดยแหล่งที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.การตั้งค่าการอัปเดตซอฟต์เเวร์
การอัพเกรดซอฟต์แวร์จะก่อให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น
1.ปรับปรุงประสิทธิภาพและเสถียรภาพ
2.แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องและข้อผิดพลาด
3.อัพเกรด OS และฟีเจอร์ใหม่

ารรักษาความปลอดภัยบน iOS แพล็ตฟอร์ม ทางแออเปิลจะมี iCloud ไว้คอยบริการเพื่อ
1.การค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องด้วย Find My iPhone
2.การสำรองข้อมูลและเก็บรักษาบริการออนไลน์
3.การอัปเดตซอฟต์แวร์

การรักษาความปลอดภัยบน Android แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย
1. การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น มัลแวร์ และไวรัสคอมพิวเตอร์
2.การเลือกติดตั้งแอปจากสโตร์ที่น่าเชื่อถือ
3.การใช้แอป Device Manager เพื่อช่วยติดตามอุปกรณ์ (คล้ายกับ Find My iPhone)
4.การอัปเดตซอฟต์แวร์

เนื่องจาก Android เป็นระบบเปิด จึงเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ ง่ายกว่า iOS ซึ่งเป็นระบบปิด


ความปลอดัยพื้นฐาน สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ประกอบด้วย

1.การตั้งล็อกอัตโนมัติ
2.การตั้งรหัสผ่าน

เเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.แพล็ตฟอร์มหมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARC station, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180

2.จงสรุปความปลอดภัยบนวินโวส์ (Windows) แพล็ตฟอร์มมาพอเข้าใจ
ตอบคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันหรือกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำหใ้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ง่ายขึ้น

3.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนไอโอเอส (iOS) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ iOS เป็นแพล็ตฟอร์มที่ปลอดภัยกว่า ตัวอย่างเช่นว่า รายงานจากกรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีมัลแวร์โมบายเพียง 0.7% เท่านั้นที่พุ่งเป้าโจมตี iOS เมื่อเปรียบเทียบกับ 79% ที่จ้องเจาะจ้องโจมตี Android

4.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนแอนดรอยด์(Andriod)เเพล็ตฟอร์มมาพอเข้าใจ
ตอบการรักษาความปลอดภัยเข้าไปในระบบเพื่อปกป้องข้อมูล แอพพลิเคชัน ตัวอุปกรณ์ เครือข่าย และผู้ใช้เองด้วย การรักษาความปลอดภัยระบบที่เป็นแบบโอเพ่นซอร์สถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แน่นนา และมีการออกแบบการป้องกันหลายชั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความอ่อนตัว การรักษาความปลอดภัยบนระบบมือถือแบบแอนดรอยด์ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เนื่องจากมัลแวร์หรือไวรัสมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังโชคดีที่ปัจจุบันก็มีแอพพ์ป้องกันมัลแวร์หรือไวรัสก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัย

5.ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การตั้งล็อกอัตโนมัติ
         2.การตั้งรหัสผ่าน

6.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้งานอยู่ไม่ว่าจะเป็นพีซี แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ลำพังตัวนักเรียนเองมีระบบการป้องกันความปลอดภัยอะไรบ้างให้กับเครื่อง
ตอบ 1.การตั้งรหัสผ่าน
         2.ควรบันทึกข้อมูลสำรองที่สำคัญของคุณทุกๆสัปดาห์
         3.ควรตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณอย่างสม่ำเสมอ 
         4.ในเมนูหลักของเบราเซอร์ กรุณาเลือก ‘Tools’ แล้วเลือก ‘Internet Options’ หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้นกรุณาเลือก Tab ‘Security’ แล้วเลือก ‘Custom Level' คุณจะสามารถตั้งค่ารักษาความปลอกภัยให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณได้ที่นี่
         5.ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-virus) ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสมอ

7.นักเรียนคิดว่า Find My iPhone ซึ่งเป็นแอปติมตามมือถือที่ทางแอปเปิลเปิดบริการเเก่ผู้ใช้อุปกรณ์จากค่ายแอปเปิล มีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์คือสามารถเอาไว้ใช้ตามหามือถือที่สูญหายได้

8.ระหว่างระบบปฏิบัติการiOSเเละAndroidนักเรียนมีความพอใจระบบปฏิบัติการตัวใดเป็นพิเศษ เพราะอะไร จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ Android เพราะเหมือนคอมพิวเตอร์เลย ติดตั้งแอพจากไหนก็ได้ เชื่อมต่อแกับอุปกรณ์ภายนอกได้ง่าย (เสียบ USB กับคอมเครื่องไหนก็ได้) เข้าถึงไฟล์ต่างๆและปรับแต่งการตั้งค่าของเครื่องได้

9.ระบบปฏิบัติการแบบเปิดกับเเบบปิด คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)ในสมัยก่อนผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system) ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ (Protable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary Operating System)เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียวไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปได้

10.เพราะเหตุใดทำไมAndroidจึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากกว่าiOS
ตอบข้อสมมติฐานง่ายๆ อาจบอกว่า iOS เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยกว่า ตัวอย่างเช่นว่า รายงานจากกรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีมัลแวร์โมบายเพียง 0.7% เท่านั้นที่พุ่งเป้าโจมตี iOS เมื่อเปรียบเทียบกับ 79% ที่จ้องเจาะจ้องโจมตี Android


เเหล่งอ้างอิง


-หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002
-https://support.apple.com/th-th/HT201925
-http://support.hp.com/th-th/document/c03041787
-http://www.samsung.com/th/support/usefulsoftware/FOTA/





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น