วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 7 การใช้งานระบบปฎิบัตการ Windows 7 เเละเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้




บทที่ 7

การใช้งานระบบปฎิบัตการ Windows 7 เเละเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้ 

       

         แกดเจ็ตส์(Gadgets)หมายถึง(แกดเจ็ตส์) มีความหมายว่า อุปกรณ์ คำ คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันไม่นานนี่เอง จะนำมาใช้ในรูปแบบของโปรแกรมเสริม เล็กๆน้อยๆ เช่น นาฬิกา บน windows 7 โปรแกรมเสริมการรายงานข่าว และเริ่มมีการใช้กับอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีที่มันสมัย และมีขนาด ทั้งด้านความจุหรือปริมาณไม่มาก (ขนาดเล็ก) ส่วนใหญ่จะเน้น ด้านความบันเทิง ความสนุก ความสะดวก เราคงจะพอทราบความหมายของคำว่า Gadget กันบ้างแล้วใช้ไหม สรุปก็คือ สิ่งประดิษฐ์ ขนาดเล็กๆ ในดานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรืออุปกรณ์ ก็สามารถเรียกว่า Gadget ได้เหมือนกัน แต่จะเป็นประเภทไหนแค่นั้นเองหรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมขนาดเล็กที่ช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนShortcut  เช่น การบอกเวลาจากนาฬิกา การติดตามข่าวสาร ฟังวิทยุ หรือตรวจสอบราคาหุ้น โดยแกดเจ็ตจะช่วยย่นเวลาในการเปิดเบราว์เซอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลทีละรายการ เปลี่ยนเป็นการนำข้อมูลดังกล่าวมาไว้บนเดสต์ทอป ในอีกความหมายถึง แกดเจ็ต คือ อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้กับโน้ตบุ๊กหรืออาจจะหมายถึงของเล่นไฮเทคที่มีความล้ำยุค เช่นMP4, หูฟัง, ลำโพง, นาฬิกา, Flash Drive, Bluetooth Speaker เป็นต้น

       คอนโทรลพาเนลเปรียบเสมือนแผงควบคุมที่คุณใช้ปรับแต่งวินโดส์ได้ทุกหน้าที่ เช่นการปรับแต่งเมาส์การปรับแต่งคีย์บอร์ด การปรับแต่งการแสดงผล เป็นต้นการเปิดคอนโทรลพาเนลนั้นทำได้โดยการ
คลิกที่ปุ่ม
คำสั่งของคอนโทรลพาเนล
คอนโทรลพาเนล (Control panel) ของ Windows Server 2008 นั้น เป็นศูนย์กลางที่ใช้เก็บคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการกำหนดการทำงานของระบบ เช่น Add Hardware, Add or Remove Programes, Administraive Tools และ Network Connections เป็นต้น โดยทั่วไปนั้นเมื่อต้องการใช้งานคำสั่งต่างๆ ใน Control Panel นั้น เราก็ต้องเข้าไปที่ Control Panel แล้วดับเบิลคลิกที่ไฟล์คำสั่งที่ต้องการดังนี้ Start>Control Panel> แล้วจึงดับเบิลคลิกที่ไฟล์คำสั่ง แต่เราสามารถทำการเรียกใช้งานแต่ละคำสั่งใน Control Panel ได้โดยตรง โดยการคลิก Start>Run แล้วพิมพ์คำสั่งที่ต้องการตามด้านล่างแล้วคลิก OK (ต้องพิมพ์นามสกุลคือ .cpl ด้วย)
การปรับแต่งวินโดวส์ XP
        
         การเรียกใช้ Control Panel
         คอนโทรลพาเนล (Control Panel)  เป็นส่วนที่ช่วยให้เราปรับแต่งวินโดว์ได้หลายๆ แบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา ตัวอย่างเช่น เราสามารถเพิ่มเครื่องพิมพ์ เพิ่มแบบอักษรเปลี่ยนสีสันบนเดสก์ทอป อีกทั้งยังสามารถปรับอุปกรณ์ทั้งหลายที่ต่ออยู่ในระบบเพื่อให้เราใช้งานได้อย่างสะดวกสบายที่สุด




          1.  คลิกที่ปุ่ม  

          2.  เลือก    

          
ส่วนต่าง ๆ ในคอนโทรลพาเนล จะถูกจัดออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อความเป็นระเบียบ  แต่ถ้าหากต้องการให้แสดงรายการทั้งหมด เช่นเดียวกับคอนโทรลพาเนลในแบบเดิม ๆ    ให้คลิกที่ 
หากต้องการกลับไปแสดงคอนโทรลพาเนลแบบจัดกลุ่ม ให้คลิกที่Start แล้วเลือก Setting เลือก Control Panel

การตั้งเวลาปิดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

ในบางกรณี ท่านอาจจำเป็นต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้เพื่อให้ทำงานบางอย่าง และอยากให้เครื่องปิดเองเมื่อถึงเวลากำหนด เราสามารถใช้โปรแกรม Task Scheduler ที่มาพร้อมกับ Windows เพื่อให้ปิดเครื่องให้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ วิธีการมีดังนี้


1. ไปที่ Start > Control Panel > System and Security > Administrative Tools และคลิก Task Scheduler (หรือ Schedule Tasks สำหรับ Windows 8)




2. คลิก Action > Create Basic Task…


2014-03-07_22-24-18










3. ใส่ชื่อและรายละเอียดตามต้องการ ตัวอย่างเช่น “PC Shutdown” เสร็จแล้วคลิก Next

4. เลือกความถี่ที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการให้ปิดเครื่องอัตโนมัติเฉพาะครั้งนี้เท่านั้น ให้เลือก One time แต่ถ้าต้องการให้ปิดเครื่องเองทุกวันตามเวลาที่กำหนด ให้เลือก Daily เป็นต้น ในที่นี่ จะกำหนดเป็น One time เสร็จแล้วกด Next

2014-03-07_21-55-30

5. ใส่วันที่และเวลาที่ต้องการให้เครื่องปิดเอง

2014-03-07_21-56-25

6. ในส่วน Action ให้เลือก “Start a program”

2014-03-07_21-57-22

7. ที่บรรทัด Program/script: ให้ใส่ “C:\Windows\System32\shutdown.exe” และบรรทัด Add arguments (optional): ให้ใส่ “/s” เสร็จแล้วคลิก Next และ Finish


การตั้งเวลาเปิดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ

ตั้งเวลาเปิดเครื่องคอมโดย Auto Power-on & Shut-down

วันนี้จะมาพูดถึงโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ตั้งเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราครับ  เนื่องจากว่าการรันสคริปโดยใช้วินโดน์ในบทความ ตั้งเวลาให้ Windows 7 รันไฟล์ php อัตโนมัติ จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์ไว้ในช่วงที่ตั้งเวลาให้รันไฟล์ php แต่ถ้าเราไม่อยู่ล่ะ  ถ้าเปิดเครื่องคอมไว้ตลอดแน่นอนค่าไฟต้องสูง ผมเลยหาวิธีตั้งเวลาเปิดเครื่องเจอบทความตั้งโดยใช้ bios แต่พอลองเข้าไปตั้งดูปรากกฎว่างง  เพราะ bios ของคอมแต่ละรุ่นต่างกัน และของผมเจอมันให้ตั้งเวลาเป็น 0-100 ทำเอางง เลยเลิกล้มมาลองการใช้โปรแกรม Auto Power-on & Shut-down ทอสอบวิธีการตั้งค่าอยู่หลายครั้งในที่สุดก็ได้วิธีการมาแนะนำเพื่อนๆ เรามาเริ่มกันเลยครับ

ข้อเสีย
- เราไม่สามารถปิดเครื่องแบบสมบูรณ์นะครับเราต้องปิดแบบ Hibernate หรือ Sleep (windows xp น่าจะใช้ Stand by) แต่แบบ Hibernate จะใกล้เคียงกับการ Shut down มากที่สุด


Step 1 ไปโหลดโปรแกรม Auto Power-on & Shut-down ตามลิ้งด้านล่างหรือหาในพี่กูเกิลก็ได้ แล้วติดตั้งโปรแกรมให้เรียบร้อย หลังติดตั้งเสร็จมันจะขึ้นข้อความให้ทอสอบระบบ


Step 2 เปิดโปรแกรม Auto Power-on & Shut-down ขึ้นมา
     1.เลือก New

     2.ตั้งค่าต่างๆ ผมจะตั้งแบบให้มันเปิดเครื่องเฉพาะ จันทร์-ศุกร์ เวลา 17:10:23 ตามภาพตัวอย่าง
ตั้งเวลาเปิดเครื่อง Auto Power-on & Shut-down

ที่สำคัญโปรแกรมนี้
- เราสามารถตั้งให้มันเปิดหน้ารันไฟล์ php ของเราได้ด้วย
- เราสามารถตั้งให้มันปิดเครื่องได้ด้วย

Step 3 เราก็ปิดเครื่องแบบ  Hibernate หรือ Sleep หรือ Stand by
ปิดเครื่องแบบ  Hibernate หรือ Sleep หรือ Stand by


เเนวคิดการจัดไฟล์เเละโฟลเดอร์

1.ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ เเยกออกจากไฟล์โปรเเกรม
2.ไม่ควรเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรเเกรมติดตั้ง
3.ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว
4.จัดระเบียบไฟลเดอร์ให้ใช้ง่ายที่สุด
5.ให้ตั้งชื่อไฟล์เเละโฟลเดอร์ที่สื่อควรหมายได้ดี

Windows Explorer เป็นโปรแกรมสำหรับดูแลและจัดการไฟล์ต่างๆใน Windows 98ที่มีคุณสมบัติตั้งแต่การ  ลบ (Delete)คัดลอก(Coppy) และเคลื่อนย้ายไฟล์ไปจนถึงการค้นหาไฟล์ที่ต้องการและยังสามารถจัดการกับข้อมูลในเครือข่าย คอมพิวเตอร ์( Computer Network ) ได้อีกด้วย

วิธีเรียก Windows Explorer สามารถเรียกได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


คลิกเมาส์เลือกโปรแกรมไฟล์และเลือก Windows Explorer

ส่วนประกอบที่สำคัญใน Explorer


ไฟล์และโฟลเดอร์

                   ใน Windows 98อาจเปรียบแฟ้มข้อมูลได้เป็นเหมือนแฟ้มเอกสารและเปรียบโฟลเดอร์เป็นเหมือนตู้เก็บแฟ้มเอกสาร เหล่านั้นโดยใน 1โฟลเดอร์ จะมีได้หลายแฟ้มข้อมูล และในแต่ละโฟลเดอร์สามารถมีโฟเดอร์ย่อยได้ สำหรับรูปแบบการจัดไฟล์แต่ละโฟลเดอร์จะมีลักษณะเป็นระดับชั้นดังรูปไฟล์

วิธีดูรายละเอียดในโฟลเดอร์

                   ในการแสดงไฟล์และโฟลเดอร์ ใน Explorer จะไม่แสดงไฟล์ทั้งหมดให้เห็นเพราะจะทำให้สับสนแต่จะแสดงไฟล์ทีละระดับจะต้องสังเกต ว่าถ้ามีเครื่องหมาย     +     หน้าสัญลักษณ์ของส่วนใดๆ แสดงว่าในส่วนนั้นมีไฟล์หรือโฟลเดอร์ย่อยบรรจุอยู่

                    ในกรณีที่มีเครื่องหมาย    -    หน้าสัญลักษณ์ของส่วนหนึ่งส่วนใดแสดงว่ารูปนั้นได้ถูกเปิดดูรายละเอียดแล้ว

 การเปิดไฟล์

                    ไฟล์ที่ใช้ใน Windows 98 สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ไฟล์โปรแกรมและไฟล์ข้อมูลเมื่อต้องการเปิดไฟล์ ก็ให้ Double Clickที่สัญลักษณ์ แทนไฟล์นั้นได้เลย สำหรับการเปิดไฟล์ประเภทโปรแกรมจะเป็นการสั่งรันโปรแกรมนั้น


การเปิดโปรแกรม(หรือการสั่งรันโปรแกรม)

                    ให้ Double Click สัญลักษณ์ของโปรแกรมที่ต้องการรัน

การเปิดไฟล์ข้อมูล

                    ให้ Double Click สัญลักษณ์ของไฟล์ที่ต้องการเปิด Explorer จะเรียกโปรแกรมที่ใช้สร้างไฟล์นั้นขึ้นมา เพื่อเปิดดูข้อมูลในไฟล์


Command Prompt ปกติเวลาเราใช้งานวินโดวส์มักจะใช้งานอยู่ในโหมดของกราฟฟิคโหมด หรือที่เราเรียกกันว่าวินโดวส์ ท่านสามารถทำงานทุกๆอย่างไม่ว่าจะเป็น การสั่งรันโปรแกรม ก็อปปี้ไฟล์หรือลบไฟล์ ผ่านทางวินโดวส์โหมดได้ แต่ระบบปฏิบัติการก็มีโหมดที่เรียกว่า “Command Prompt” หรือบางทีก็เรียกว่า “Dos Prompt” ซึ่งเป็นโหมดการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นตัวอักขระ (Text Mode) นั่นหมายความว่าเมื่อต้องการใช้คำสั่งใด ท่านต้องพิมพ์คำสั่งต่างๆเอาเอง ซึ่งจะพบเห็นได้ในโปรแกรมเก่าๆหลายตัว (โปรแกรมสมัยก่อนจะมีระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือแม้แต่โปรแกรมใหญ่ๆบางตัว จะเรียกใช้งานหรือปรับแต่งค่าได้เมื่ออยู่ในโหมด Command Prompt เท่านั้นเราสามารถเข้าใช้งานโหมด Command Prompt ได้โดยคลิกที่ปุ่ม Start > Run (หรือจะใช้คีย์ลัด Windows + R ก็ได้) พิมพ์คำสั่ง CMD แล้วกด OK ก็จะเข้าสู่โหมด Command Prompt
คำสั่งเปลี่ยนทิศทางการรับส่งข้อมูล ประกอบด้วย

1.การเปลี่ยนทิศทางการเเสดงผลไปยังเอาต์พุต ใช้สัญลักษณ์ >
2.การเปลี่ยนทิศทางการเเสดงผลไปยังเอาต์พุตด้วยการต่อท้ายข้อมูลเดิม ใช้สัญลักษณ์ >>
3.การเปลี่ยนทิศทางการเเสดงผลด้วยการรับข้อมูลจากไฟล์แทน ใช้สัญลักษณ์ <



เเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.แกดเจ็ตส์ (Gadgets) คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ตอบ แกดเจ็ตส์คือโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสก์ท็อปเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตส์นั้นๆ ผู้ใช้สามารถเลือกแกดเจ็ตส์ใหม่ๆ จากการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตมาใช้เพิ่มเติมได้ โปรแกรมแกดเจ็ตส์บางตัวจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออ่านค่าล่าสุดมาใช้งาน

2.ในระบบปฏิบัตการวินโดวส์ จะมีส่วนที่เรียกว่า "Control Panel" อยากทราบว่า มีส่วนสำคัญต่อการใช้งานอย่างไร
ตอบ Control Panel เปรียบเสมือนแผงควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของโปรแกรมต่างๆ ที่สำคัญ ที่ผู้ใช้เองสามารถที่จะเข้าไปตั้งค่าได้

3.จงสรุปวิธีการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้สามารถเปิด/ปิดโดยอัตในมัติ
ตอบ สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ดังนี้ คลิกเข้าไปที่ Control Panel > ขณะเปิดเครื่องให้กดปุ่ม Del เพื่อเข้าไปตั้งค่าไบออส เข้าไปยังเมนู Power Management และดูที่หัวข้อ Resume by Alarm ตอนแรกจะถูกปิดใช้งานไว้ ให้คลิกเข้าไปแล้วตั้งค่าใหม่เพื่อเปิด Enable เพื่อเปิดการใช้งาน ที่หัวข้อ Wake up day เป็น Everyday หมายถึงให้เปิดอัตโนมัติทุกวัน จากนั้นตั้งเวบาที่ต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่ม F10 เพื่อบันทึก

4.ไบออสคืออะไร มีส่วนสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ไบออสเป็นโปรแกรมเฟริ์มแวร์ที่มีความใกล้ชิดกับระบบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องไบออสมีส่วนสำคัญต่อการบูตเครื่องและการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอุปกรณ์

5.การถอดถอนโปรแกรมออกไปจากเครื่อง จะกระเมื่อใด และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เมื่อโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องไม่ได้ถูกใช้งาน การถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น

6.จงสรุปแนวคิดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ 1. ควรเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ แยกออกจากโปรแกรมไฟล์
         2. ไม่ควรเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมติดตั้ง
         3. ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว
         4. จัดระเบียบโฟลเดอร์ให้ใช้งานง่ายที่สุด
         5. ให้ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดี

7.การคัดลอกแบบ Copy  กับ Cut มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Copy คือการคัดลอกข้อมูลโดยที่ไฟล์นั้นจะไม่สูญหาย
        Cut คือการคัดลอกไฟล์แบบเคลื่อนย้ายไฟล์ต้นฉบับจะถูกลบออกไป

8.ตามปกติแล้ว ทำไมจึงไม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลไฟล์บน Windows Explorer ได้ แล้วถ้าหากจำเป็นต้องทำ จะต้องทำอย่างไร และสามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ ตามปกติแล้วที่ Windows Explorer ได้มีการติดตั้งค่าให้ซ่อนนามสกุลไฟล์เอาไว้โดยผู้ใช้จะเห็นเฉพาะชื่อไฟล์ ส่วนนามสกุลไฟล์จะถูกระบุไว้ที่ชนิดของไฟล์อยู่แล้ว ในการที่เราจะเปลี่ยนนามสกุลไฟล์นั้นอาจส่งผลให้ไฟล์ถูกเปิดอ่านตามปกติไม่ได้ หากต้องการเปลี่ยนคือต้องเข้าไปที่เมนู Organize > Folder and options ที่แท็บ View ให้นำเครื่องหมายถูกตรงหัวข้อ Hide extension for known file type  ออกไปแล้วกดปุ่ม OK จากนั้นให้เปลี่ยนนามสกุลไฟล์ จะมีข้อความขึ้นเตือนให้กด Yes เมื่อดำเนินการเสร็จไฟล์จะยังเปิดอ่านไม่ได้ต้องกลับไปตั้งค่าให้เป็นเหมือนเดิมโดยกำหนดเครื่งหมายถูกตรงหัวข้อดังกล่าว

9.Command Prompt บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีไว้เพื่ออะไร จงอธิบาย
ตอบ Command Prompt ก็คือการใช้คำสั่งต่างๆด้วยการพิมพ์

10.คำสั่งในการเปลี่ยนทิศทางการรับส่งข้อมูลบน Command Prompt มีอะไรบ้าง จงสรุปมาให้พอเข้าใจ
ตอบ 1. การเปลี่ยนทิศทางเพื่อการแสดงผลไปยังเอ้าต์พุต
         2. การเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลไปยังเอ้าต์พุตด้วยการต่ท้ายข้อมูลเดิม
         3. การเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลด้วยการรับข้อมูลจากไฟล์นั้นแทน


ตอนที่ 3 จงใช้คำสั่ง Command Prompt เพื่อดำเนินการกับโจทย์ที่กำหนดมาให้กำหนดให้ไดเรกทอรีหรือตำแหน่งโฟลเดอร์ปัจจุบันอยู่ที่ "C:\TEST"

1.จงแสดงรายชื่อไฟล์ที่ขึ้ต้นด้วยคำว่า "Project" โดยตัวถัดไปเป็นตัวอะไรก็ได้ นามสกุลใดก็ได้
ตอบ  1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
     2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง
                           C:\Windows\system32>dir Project*.*

    3.ได้ผลลัพท์ดังรูป


2.จากข้อที่ 1 หากต้องกการแสดงเฉพาะนามสกุล .docx ต้องใช้คำสั่งใด
 ตอบ

      1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
     2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                           C:\Windows\system32>dir *.docx

     3.ได้ผลลัพท์ดังรูป


3. จงสร้างโฟลเดอร์ “Budget” ที่อยู่ภายใต้โฟลเดอร์ C:\TEST ซึ่งประกอบด้วยโฟลเดอร์ย่อยของปีต่างๆ อันได้แก่ “2556” , “2557” และ “2558”
ตอบ
      1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
      2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                         
                          C:\Windows\system32>md budget

                          C:\Windows\system32>cd C:\Users\USER\budget

                          C:\Windows\system32\budget>md 2556

                          C:\Windows\system32\budget>md 2557

                          C:\Windows\system32\budget>md 2558

                          C:\Windows\system32\budget>


     3.ได้ผลลัพท์ดังรูป



4. ให้คัดลอกไฟล์ทั้งหมดจากไดรฟ์ D:\doc ไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งโฟลเดอร์ “2557”
ตอบ  
     1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
     2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                         C:\Windows\system32>cd D:\ copy *.docx


     3.ได้ผลลัพท์ดังรูป


5. ให้คัดลอกไฟล์เฉพาะนามสกุล .pptx จากไดรฟ์ D:\ ไปเก็บไว้ตำแหน่งโฟลเดอร์ “2558”
ตอบ
       1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
       2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                           C:\Windows\system32>copy *.pptx.


       3.ได้ผลลัพท์ดังรูป



6. จงสร้างโฟลเดอร์ย่อยชื่อ “Mana” และ “Meena” บนตำแหน่งโฟลเดอร์ “2556”
ตอบ
        1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
        2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                           C:\Windows\system32\budget\2558>cd C:\Users\USER\budget\2556

                           C:\Windows\system32\budget\2556>md Mana

                       
        3.ได้ผลลัพท์ดังรูป


7. จงลบไฟล์ทั้งหมดบนโฟลเดอร์ “2557” ที่ขึ้นต้นด้วยตัว “D” ตัวถัดไปคือตัวอะไรก็ได้ และต้องมีนามสกุลไฟล์เป็น “.DOC”
ตอบ
        1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
        2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                           C:\Windows\system32\budget\2557>cd C:\Users\USER\budget\2557

                           C:\Windows\system32\budget\2557>del D*.docx



        3.ได้ผลลัพท์ดังรูป




8. จงลบไฟล์ในโฟลเดอร์ “2557” ออกไปทั้งหมด โดยเรียกใช้งานผ่าน Input File (Redirection เครื่องหมาย “<” จากไฟล์ที่ตั้งขึ้นคือ confirm.scr a) ด้วยการลบไฟล์ทั้งหมดด้วย “Y” แบบอัตโนมัติตอบ
        1.เปิดโปรเกรม Command Prompt โดย Start --> Search program --> พิมพ์คำว่า cmd --> Enter
        2.ที่ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง

                           C:\Users\USER\budget\2557>cd C:\Users\USER\budget\2557

                           C:\Users\USER\budget\2557>del D*.docx



        3.ได้ผลลัพท์ดังรูป




เเหล่งอ้างอิง


-หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002
-http://soraya-pare.blogspot.com/2012/02/control-panel.html
-http://www.businesssoft.com/blog/?p=950
-https://xn--22ck7e3a1ab7ad6jc2l.blogspot.com/2012/05/auto-power-on-shut-down.html
-http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it02/windows3/explorer2.htm





บทที่ 8 โปรเเกรมยูทิลิตี้

บทที่ 8

โปรเเกรมยูทิลิตี้


โปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และโปรแกรมยูทิลิตี้บางตัวก็จัดเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์โปรแกรมยูทิลิตี้ดังกล่าวจะถูกติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ หลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งก็คือโปรแกรม Scandisk และโปรแกรม Defragmenter โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ทั้งสองนี้ ถือเป็นโปรแกรมในกลุ่มที่ใช้งานเพื่อบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ นั่นก็ คือ เป็นการบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

โปรเเกรมยูทิลิตี้ที่น่าสนใจ
1.CPU-Z คือโปรแกรมแบบฟรีแวร์ สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ใช้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของ CPU, mainboard, RAM, OS และ DirectX  ได้อย่างละเอียด  ประโยชน์ของเจ้าโปรแกรมตัวนี้ เช่น เวลาเราซื้อโน้ตบุ๊กตัวใหม่ เราสามารถเช็คสเปคก่อนออกจากร้านได้ เผื่อสเปคไม่ตรงตามที่เราเข้าใจ บางครั้งพนักงานขายอาจหยิบตัวที่สเปคต่ำกว่ามาให้ เพราะหน้าตาของเจ้าโน้ตบุ๊กเหมือนกัน  ปัจจุบันโปรแกรม CPU-Z มีเวอร์ชั้นล่าสุด คือ CPU-Z 1.59 ซึ่งรองรับ Windows 8
CPU-Z มีความสามารถอะไรบ้าง
– ตรวจสอบว่าเครื่องของเราใช้ CPU ตัวไหนอยู่ มีรายละเอียดอะไรบ้าง โดยจะโชว์รูปไอคอนของ CPU ตัวนั้นให้เราดูด้วย
– ตรวจสอบว่า CPU เรามี Caches L1,L2,L3 เท่าไหร่
– ตรวจสอบว่าเครื่องเราใช้ Mainboard รุ่นอะไร

– เช็คว่าเครื่องเรามี RAM เท่าไหร่ แรมบัสเท่าไหร่ ใส่ได้กี่ตัว
– เช็ครุ่นการ์ดจอที่เราใช้อยู่



2.Memtest86 คือ โปรแกรมที่จะช่วยตรวจสอบ และวินิจฉัยหน่วยความจำ (RAM) เพื่อหาต้นตอของปัญหา และชุบชีวิตใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ มีโน๊ตบุ๊คจำนวนมากที่ปัญหาเกิดจากหน่วยความจำแรม (Ram) ซึ่งอาจทำให้เครื่องมีปัญหาบลูสกรีน หรือมีเสียงร้อง ไม่สามารถ Boot เข้า Windows ได้เป็นต้น

Memtest86 คือ เครื่องมือเฉพาะที่มีไว้ตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงานของแรม มันใช้งานได้ดีมาก หากสงสัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมาจากหน่วยความจำแรมแล้ว Memtest86 สามารถช่วยคุณได้

โดยวิธีดู คือ ถ้าหน่วยความจำไม่มีปัญหา จะไม่เห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาดเป็นสีแดง แต่ในทางกลับกันหากมีข้อผิดพลาดจะแสดงข้อความสีแดง

อะไรที่ Memtest86 ทำไม่ได้

น่าเสียดายที่ซอฟต์แวร์ทดสอบหน่วยความจำส่วนใหญ่ไม่สามารถบอกได้ว่า โมดูล RAM แผงไหนที่เสีย ซึ่ง Memtest86 ก็ไม่ได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ดี ถ้าพบข้อผิดพลาดที่มากกว่า 1 ข้อ คุณอาจจะลองแก้ปัญหาโดยพิจารณาจากเงื่อนไข และขั้นตอนต่อไปนี้ดูนะครับ
• พีซีที่โอเวอร์คล็อก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของหน่วยความจำผิดพลาดได้
ถ้าเครื่องของคุณโอเวอร์คล็อกอยู่ในขณะนั้น คุณอาจจำเป็นต้องคืนความเร็วเดิมให้กับซีพียู จากนั้นสั่งรันโปรแกรม Memtest86 ซ้ำอีกครั้ง
• วิธีตรวจสอบแผงหน่วยความจำที่เสียหาย
1. ถ้าคุณมีหน่วยความจำอยู่แผงเดียวในเครื่องของคุณ ให้เปลี่ยนหน่วยความจำแผงใหม่เข้าไป แล้วทดลองรันโปรแกรม Memtest86 อีกครั้ง
2. กรณีที่มี RAM หลายแผงให้ถอดออกให้หมดจนเหลือแค่แผงเดียว สั่งรัน Memtest86 ตรวจสอบทีละแผงจนกว่าจะพบแผงหน่วยความจำที่มีข้อผิดพลาด

เมื่อคุณพบ RAM ที่เสียหาย ก็ถอดมันออกไป เพื่อเปลี่ยนแผงใหม่ที่ดีเข้าไปแทน เพียงแค่นี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็น่าจะกลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม





3.Pc Tools Registry Mechanicโปรแกรมนี้เป็น โปรแกรมที่มีหน้าที่เอาไว้ในการ ตรวจค้น (Scan), กวาดล้าง (Clean) หรือจะเป็นการ ซ่อมแก้ไข (Repair) เจ้าตัว รีจิสตรี้ (Registry) ครับ ซึ่งเจ้าตัว รีจิสตรี้ นี้ถือได้ว่าเป็นตัวที่สำคัญของเครื่องเลยก็ว่าได้ เพราะว่าอย่างไอ้เจ้าตัว โปรแกรมพวก สปายแวร์ (Spyware) หรือ ม้าโทจ้น (Trojan Horse) ที่อาจจะเข้ามาสร้างความรำคาญใจ หรือ สร้างความวุ่นวาย ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน หรือ ตลอดจนตัวท่านเอง พวกนี้มันก็เข้ามาแก้ไขใน รีจิสตรี้สำหรับโปรแกรมนี้ก็ถ้ามีไว้ ก็เรียกได้ว่าอุ่นใจครับ เพียงแค่กดเม้าส์ เพียงไม่กี่ครั้ง ท่านก็สามารถทำให้เครื่องของท่านนั้น มีเสถียรภาพได้เป็นอย่างดีแล้วด้วยละครับ และที่สำคัญ โปรแกรมนี้ ปราศจาก สปายแวร์ หรือ แอดแวร์ 



4.WinRAR คือ โปรแกรมที่มีหน้าที่ เอาไว้ บีบย่อ ไฟล์ (File) เช่นเดียวกับ โปรแกรม Winzip แต่พิเศษกว่า Winzipคือ โปรแกรม WinRAR สามารถที่จะ ทำการบีบข้อมูลนามสกุล .ZIP  หรือจะเป็น .RAR ได้ อีกทั้งยังคลายไฟล์นามสกุล .ARJ , .CAB , .LZH , .ACE , .TAR , .GZ , .UUE ได้ ช่วยให้ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและสะดวกในการส่งต่อไปยังผู้ใช้อื่นๆ

โปรแกรมนี้มีการสร้างไฟล์บีบอัดที่จะแตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ บ้าง คือโปรแกรมอื่นๆ เวลาจะสร้างไฟล์บีบอัด ก็จะต้องตั้งชื่อไฟล์เลือกโฟลเดอร์ที่จะเก็บก่อน แล้วจึงเลือกไฟล์ที่จะบีบอัดเข้าไปภายหลัง แต่โปรแกรม WinRAR นี้จะให้เลือกไฟล์ต่างๆ ที่จะบีบอัดก่อน จากนั้นจึงตั้งชื่อไฟล์และเลือกโฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์ในภายหลัง



ในการสร้างไฟล์บีบอัดนั้น

เลือกไฟล์ที่ต้องการจะบีบอัด ให้ไปยังโฟลเดอร์และเลือกไฟล์ที่ต้องการ โดยคลิกตามหมายเลข 1 แล้วเลือกไดรฟ์และโฟลเดอร์ที่ต้องการ เมื่อเลือกแล้ว ตรงกลางหน้าต่างของโปรแกรมก็จะแสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ของโฟลเดอร์ที่เลือก
เลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่ต้องการ หากเป็นการเลือกไฟล์เดียวให้คลิกที่ไฟล์ แต่หากต้องการหลายๆ ไฟล์แยกกัน ให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วใช้เม้าส์คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ หรือในกรณีที่ต้องการเลือกไฟล์ที่ที่ต่อเนื่องกันเช่นไฟล์ที่ 1 ถึงไฟล์ที่ 10 ให้คลิกไฟล์ที่ 1 แล้วกดปุ่ม Shift ค้างไว้ คลิกที่ไฟล์ที่ 10
เพิ่มไฟล์เข้าไปยังไฟล์บีบอัด คลิกขวาในหน้าต่างเลือกไฟล์ แล้วเลือก "เพิ่มไฟล์เข้าเอกสาร" หรือ คลิกปุ่ม "เพิ่ม" บนแถบเครื่องมือ


แท็บทั่วไป ในช่อง ชื่อเอกสาร คือชื่อไฟล์บีบอัดที่กำลังจะสร้างขึ้นมาโดยบรรจุไฟล์/โฟลเดอร์ต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ก่อนหน้านี้ เราสามารถที่จะเปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วการสร้างไฟล์บีบอัดนี้จะสร้างเก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกับไฟล์ที่เลือก แต่หากประสงค์จะเก็บไว้ที่อื่น ให้คลิกปุ่ม "สืบค้น" แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์

รูปแบบของเอกสาร เลือกเอาว่าจะต้องการไฟล์ชนิดใด .rar หรือ .zip

วิธีการบีบอัดข้อมูล นั้นมีหลายรูปแบบ คือ เก็บเฉยๆ, เร็วที่สุด, เร็ว, ปกติ, ดี, ดีที่สุด แบบเก็บเฉยๆ เป็นการรวมไฟล์ให้อยู่ในไฟล์เดียวกันเท่านั้นไม่ได้มีการบีบอัดข้อมูลให้เล็กลงแต่อย่างใด ในรูปแบบถัดไปจะเป็นการเรียงลำดับจากการบีบอัดอย่างรวดเร็วไปหาช้า แต่จะเรียงลำดับจาก บีบอัดได้น้อยที่สุดไปหามากที่สุด นั่นหมายความว่า การบีบอัดอย่างรวดเร็วจะใช้เวลาน้อย แต่บีบอัดได้มากที่สุด จะใช้เวลามากที่สุดเช่นกัน ก็เลือกตามความเหมาะสมที่ต้องการ

แยกไฟล์เป็นส่วนๆ , ไบท์ หากไฟล์มีขนาดใหญ่ คุณอาจจะต้องการที่จะแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อสะดวกในการเก็บบนไดรฟ์ปลายทาง โปรแกรมนี้ก็มีฟังก์ชั่นสำหรับแยกไฟล์ออกเป็นส่วนๆ คุณสามารถป้อนจำนวนตัวเลขที่คุณต้องการได้ โดยตัวเลขที่ป้อนจะมีหน่วยเป็นไบท์ เช่นป้อน 1000000 หมายถึงให้แยกไฟล์ออกเป็นส่วนๆ ส่วนละ 1000000 ไบท์ และคุณสามารถใส่ตัวอักษรไว้ท้ายตัวเลขได้ 10000k

ตัวอักษรที่สามารถใส่เพิ่มได้คือ

k หมายถึง กิโลไบท์ (หารไบท์ด้วย 1024)
K หมายถึง กิโลไบท์ (หารไบท์ด้วย 1000)
m หมายถึง เมกะไบท์
M หมายถึง ล้านไบท์
g หมายถึง กิกะไบท์
G หมายถึง พันล้านไบท์
หรือคุณอาจจะให้โปรแกรมตรวจสอบสื่อโดยอัตโนมัติก็ได้

วิธีการอัพเดท เป็นรูปแบบในการเพิ่มไฟล์เข้าไปในไฟล์บีบอัด

เพิ่มและแทนที่ไฟล์ หมายถึง เพิ่มรายชื่อไฟล์ที่เลือกเข้าไปยังไฟล์บีบอัด หากไฟล์ที่เลือกไว้มีชื่อเหมือนกับไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัด ก็จะใช้ไฟล์ที่เลือกไว้เขียนทับไฟล์ในไฟล์บีบอัด ไม่ว่าไฟล์นั้นจะมีวันที่ล่าสุดหรือไม่
เพิ่มและอัพเดทไฟล์ หมายถึง เพิ่มรายชื่อไฟล์ที่เลือกเข้าไปยังไฟล์บีบอัด หากไฟล์ที่เลือกไว้มีชื่อเหมือนกับไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัด ก็จะเปรียบเทียบกันว่าไฟล์ใดใหม่กว่ากัน หากไฟล์ที่เลือก มีวันที่ใหม่กว่า ก็จะเขียนทับไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัด หากไฟล์ที่เลือกมีวันที่เก่ากว่า ไฟล์นั้นก็จะไม่ถูกบีบเข้าไปในไฟล์บีบอัด
ทำให้ใหม่เฉพาะไฟล์ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น หมายถึง การเพิ่มเฉพาะไฟล์ที่มีชื่อเหมือนกับไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัด และต้องมีวันที่ใหม่กว่าไฟล์ที่อยู่ในไฟล์บีบอัดด้วย หากไฟล์ที่เลือกนั้น ไม่มีชื่อนี้อยู่ในไฟล์บีบอัด หรือมีชื่อเหมือนกันแต่วันที่เก่ากว่า ก็จะไม่ถูกบีบอัด การใช้ตัวเลือกนี้เหมาะสำหรับการสำรองข้อมูลที่ให้ปรับปรุงเฉพาะข้อมูลที่มีอยู่แล้วแต่วันที่ใหม่กว่า เพื่อประหยัดเวลาในการอัพเดทข้อมูล เช่นมีไฟล์ documents.rar ในไฟล์นี้มี qmd1.doc, qmd2.doc, qmd3.doc มีการเลือกไฟล์ person1.doc, person2.doc และ qmd3.doc เพื่อที่จะบีบอัดเข้าไปในไฟล์ documents.rar เมื่อบีบอัด ไฟล์ qmd3.doc ที่เลือกไว้มีชื่อเหมือนกับไฟล์ qmd3.doc ที่มีอยู่ในไฟล์ documents.rar โปรแกรมจะตรวจสอบว่าไฟล์ที่เลือกเข้ามานั้นใหม่วันที่ใหม่กว่าไฟล์ที่มีอยู่หรือไม่ หากใหม่กว่า ก็จะบีบอัดเข้าไป หากเก่ากว่าก็จะไม่บีบอัด ส่วนไฟล์อื่นๆ ที่ไม่มีชื่อเหมือนกับไฟล์ที่อยู่ในไฟล์บีบอัดนั้น คือ person1.doc และ person2.doc ไฟล์ทั้งสองนี้จะไม่ถูกบีบอัดเข้าไปด้วย
ซิงโครไนซ์ไฟล์ในเอกสาร หมายถึง เพิ่มไฟล์ที่เลือกเข้าไปยังไฟล์บีบอัด หากไฟล์ที่เลือกมีชื่อเดียวกับไฟล์ในไฟล์บีบอัดและมีวันที่ใหม่กว่า ก็จะเขียนทับไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัด หากมีวันที่เก่ากว่าก็จะไม่ถูกบีบอัดเข้าไป และลบไฟล์ที่มีอยู่ในไฟล์บีบอัดทั้งหมดที่ไม่มีชื่อเหมือนกับไฟล์ที่เลือกไว้ เช่น เลือกไฟล์ a.doc ไว้และต้องการเพิ่มในไฟล์ documents.rar แต่ในไฟล์ documents.rar นั้นมีไฟล์ 1.doc, 2.doc, 3.doc อยู่ เมื่อบีบอัด ไฟล์ a.doc จะถูกบีบอัดเข้าไปในไฟล์ documents.rar แต่ไฟล์ 1.doc, 2.doc, 3.doc ใน documents.rar จะถูกลบทั้งหมด(ใช้ได้เฉพาะไฟล์ .rar เท่านั้น)
ตัวเลือกการสร้างเอกสารนั้น ตัวเลือกต่างๆ มีความหมายในตัวอยู่แล้ว หากท่านใดที่ต้องการสร้างไฟล์ที่บีบอัดแล้วและไม่ต้องการใช้ WinRAR ช่วยในการขยายไฟล์อีก คือต้องการสร้างไฟล์ที่จะขยายด้วยตัวมันเองไม่ต้องพึ่งโปรแกรมภายนอกให้ยุ่งยาก แนะนำให้ทำเครื่องหมายถูกหน้า "สร้างเอกสารแบบ SFX" นามสกุลของไฟล์ที่ได้จะเป็น .exe แทนที่จะเป็น .zip หรือ .rar เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ ก็จะขยายไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ภายในไปยังโฟลเดอร์ที่ระบุได้


ในกรณีที่ต้องการล็อคไฟล์ด้วยรหัสผ่าน คลิกแท็บแอดวานซ์ คลิกปุ่ม "ตั้งรหัสผ่าน"


ตั้งรหัสที่ต้องการในช่อง "ใส่รหัสผ่าน" แล้วคลิกปุ่ม "ตกลง"


หากต้องการเพิ่มเติมไฟล์ที่จะบีบอัดอีก หรือตั้งค่าตัวเลือกเกี่ยวกับไฟล์ ให้คลิกแท็บไฟล์ แล้วคลิกปุ่ม "ต่อท้าย" ในช่องไฟล์ที่จะเพิ่ม เลือกไฟล์ที่จะเพิ่มเติมจากไฟล์ที่ได้เลือกไว้อยู่แล้ว


ในกรณีที่ต้องการใส่คำอธิบายเกี่ยวกับไฟล์บีบอัดนี้ว่า เป็นไฟล์เกี่ยวกับอะไร สร้างวันไหน หรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับไฟล์นี้ ให้คลิกที่แท็บ คำอธิบาย แล้วพิมพ์คำอธิบายในช่องด้านล่าง

เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มดำเนินการบีบอัดไฟล์


โปรแกรมกำลังบีบอัดข้อมูล


ลังจากที่ได้บีบอัดข้อมูลเสร็จแล้วและต้องการดูข้อมูลต่างๆ ไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ แล้วดับเบิ้ลคลิก ก็จะเห็นข้อมูลต่างๆ ที่ถูกบีบอัด

ในกรณีที่คุณเปิดไฟล์ .rar อยู่แล้ว และต้องการเพิ่มไฟล์เข้าไปในไฟล์ .rar ที่เปิดอยู่ ให้ลากไฟล์เข้ามาวางในหน้าต่างโปรแกรมได้เลย จะปรากฎกรอบโต้ตอบขึ้นมา ตอบ OK ไฟล์ที่คุณลากมาวางก็จะถูกอัดไปไว้ในไฟล์ .rar

5.โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบหลักๆ คือ

1.แอนติไวรัส (Anti-Virus) เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
2.แอนติสปายแวร์ (Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adsware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ ทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกัน แต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้

เเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.โปรเเกรมยูทิลิตี้คืออะไร จงอธิบาย
ตอบโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และโปรแกรมยูทิลิตี้บางตัวก็จัดเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์โปรแกรมยูทิลิตี้ดังกล่าวจะถูกติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ หลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งก็คือโปรแกรม Scandisk และโปรแกรม Defragmenter โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ทั้งสองนี้ ถือเป็นโปรแกรมในกลุ่มที่ใช้งานเพื่อบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ นั่นก็ คือ เป็นการบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

2.จงสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวของนักเรียน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ตัวใดบ้าง ด้วยการระบุเป็นข้อๆ (ไม่นับรวมโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ติดมากับวินโดวส์)
ตอบ   ไม่มี  

3.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม CPU-Z
ตอบ วัดความเร็วซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง สำหรับโปรแกรมนี้ จะทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสเปคคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับซีพียู เมนบอร์ด

4.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Mem Test
ตอบเป็นโปรแกรมเช็คแรม หรือโปรแกรมตรวจสอบแรม ตรวจสภาพการทำงานของหน่วยความจำหรือที่เรียกว่าแรม อย่างละเอียด ทดสอบขีดจำกัดของแรม หาข้อผิดพลาด (Error)

5.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
ตอบ  โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่เอาไว้ในการตรวจค้น กวาดล้าง หรือจะเป็นการซ่อมแก้ไข ส่วนของ Registry ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์

6.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม WinRAR
ตอบ  เอาไว้สำหรับบีบอัดไฟล์เช่นเดียวกับ Winzip แต่พิเศษกว่าคือ Winzip คือโปรแกรม WinRaR สามารถที่จะทำการบีบนามสกุล .ZIP หรือจะเป็น .RAR ได้อีกทั้งยังคลายไฟล์นามสกุล .ARJ  .CAB  .LZH  .ACE   .TAR  .GZ  .UUE ช่วยให้ประสิทธิภาพในการประหยัดเนื้อที่มากขึ้น

7.แนวทางในการป้องกันไวรัส ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ  1. หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
          2. ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์เพื่อป้องกนัไวรัสมาโคร
          3. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
          4. ไม่เปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงอยู่
          5. ควรตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ

8.อยากทราบว่านักเรียนเคยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดบ้าง จงระบุเป็นข้อๆ และมีความชื่นชอบโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดมากที่สุด เพราะอะไร
ตอบ ไม่ได้ใช้


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
ตอนที่ 2 ปฏิบัติการฝึกทักษะ

ให้ครูผู้สอนจัดกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน
1. มอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ทำการสืบค้นโปรแกรมยูทิลิตี้จากอินเทอร์เน็ตมา 3 โปรแกรม โดยให้ทุกกลุ่มมาลงชื่อโปรแกรมกับคุณครู เพื่อป้องกันการซ้ำ
2. ดาวน์โหลดโปรแกรมเหล่านั้นมา และทดลองติดตั้งใช้งาน
3. จัดทำรายงานการใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ดังกล่าว พร้อมสรุปผลว่า แต่ละโปรแกรมใช้งานอย่างไร มีประโยชน์ด้านใด
4. อภิปรายผล



อ้างอิง

หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002









































บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ

บทที่ 9

การรักษาความปลอดภัยของระบบ


 แพล็ตฟอร์ม คือสภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARC station, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน ก็จะมี Platform ที่ต่างกันไปด้วย  
     Platform จะประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ  ,โปรแกรมประสานงานระบบคอมพิวเตอร์ และ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่ง Microchip ของคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้ายตรรกะ และจัดการการเคลื่อนย้ายข้อมูล ระบบปฏิบัติการต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานกับคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ เช่น Microsoft Windows 95 ได้รับการสร้างให้ทำงานกับชุดคำสั่งของ ไมโครโพรเซสเซอร์ของ Intel เพื่อการใช้คำสั่งร่วมกัน นอกจากนี้ ยังหมายถึงส่วนอื่น ๆ เช่น เมนบอร์ด และ บัสของข้อมูล แต่ส่วนเหล่านี้กำลังเพิ่มลักษณะที่เป็นโมดูล และมาตรฐานมากขึ้น ในอดีตโปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมยังจะเขียนใหม่ให้ทำงานเฉพาะ platform เนื่องจากแต่ละ Platform มีโปรแกรมอินเตอร์เฟซที่ต่างกัน ดังนั้น โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต้องมีการเขียนให้ทำงานกับ Windows ชุดหนึ่ง และทำงานกับ Macintosh อีกชุดหนึ่ง แต่ระบบเปิดหรือมาตรฐานด้านอินเตอร์เฟซยินยอมให้บางโปรแกรมทำงานกับ Platform ที่ต่างกันโดยผ่านโปรแกรมตัวกลาง หรือ broker Programs

การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม
    
คอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันหรือกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำหใ้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ง่ายขึ้น






การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย

1.การตั้งค่าความปลอดภัยเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลของคุณด้วยการเข้ารหัสเมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยการจัดเก็บข้อมูลในฟอร์แมตที่เข้ารหัสเมื่อเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และด้วยการใช้โทเค็นความปลอดภัยสำหรับการรับรองความถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าข้อมูลของคุณจะได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในขณะที่ถ่ายโอนไปที่อุปกรณ์ของคุณและเมื่อถูกจัดเก็บไว้ใน iCloud โดย iCloud จะใช้การเข้ารหัส AES อย่างน้อย 128 บิต ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการรักษาความปลอดภัยที่ใช้โดยสถาบันการเงินรายใหญ่ๆ และจะไม่ให้กุญแจการเข้ารหัสแก่บุคคลที่สามอย่างเด็ดขาด
2.การสำรองเเละกู้คืนข้อมูล
การวางแผนกลยุทธ์ในการสำรองข้อมูลและกู้คืน
การบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของคุณจะใช้เวลานานและจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับ. อย่างไรก็ตาม, ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องสำรองข้อมูล เนื่องจากคุณไม่รู้ว่า เมื่อใดที่คุณจำเป็นต้องทำการกู้คืนระบบ. ข้อมูลนี้ช่วยให้คุณวางแผนกลยุทธ์ที่คุณสามารถใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่า ข้อมูลทั้งหมดของคุณถูกสำรองไว้แล้วตามเวลา และด้วยวิธีที่คุณสามารถกู้คืนได้อย่างง่ายดาย.

การสำรองข้อมูล, การกู้คืน และการให้บริการทางสื่อ
การสำรองข้อมูล, การกู้คืน และการให้บริการทางสื่อ (BRMS) ช่วยให้คุณนำไปปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ เพื่อจัดการการสำรองข้อมูลของคุณ, และแสดงวิธีอย่างเป็นลำดับในการกู้คืนข้อมูลที่สูญหาย หรือถูกทำให้เสียหาย และจัดการกับสื่อบันทึก. ฟังก์ชันของ BRMS ต่างๆ พร้อมใช้งานผ่านปลั๊กอินเข้ากับ iSeries Navigator.

Back up your server
ใช้ข้อมูลนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีต่างๆ ที่คุณสามารถสำรองข้อมูลระบบของคุณ และนำกลยุทธ์การบันทึกของคุณไปปฏิบัติ. หากคุณมีกลยุทธ์ปกติ, คุณสามารใช้เมนู Save อ็อพชัน 21 ของคำสั่ง GO SAVE ได้. หากคุณมีกลยุทธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน, คุณสามารถบันทึกส่วนของระบบแบบแมนนวลได้, คุณสามารถบันทึกระบบของคุณ ขณะที่ระบบกำลังแอ็คทีฟ, หรือคุณสามารถบันทึกระบบของคุณด้วยอุปกรณ์จำนวนมากได้.

การกู้คืนเซิร์ฟเวอร์ของคุณ
ใช้ข้อมูลนี้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการกู้คืนระบบของคุณ. ข้อมูลนี้แสดงลิงก์ไปยังคู่มือการสำรองข้อมูลและการกู้คืน และหัวข้อ information center ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการกู้คืน.

FAQ การสำรองข้อมูลและการกู้คืน
ใช้ปัญหาที่ถามบ่อยเพื่อเข้าถึงการสำรองข้อมูล และขั้นตอนการกู้คืน และแนวคิด. FAQ มีลิงก์ที่นำคุณไปยังหัวข้อ information center เฉพาะ หรือส่วนของคู่มือการสำรองข้อมูลและการกู้คืน ที่ประกอบด้วยคำตอบของคำถามนั้น.

ควบคุมการปิดระบบโดยใช้โปรแกรม power-handling
ข้อมูลนี้อธิบายถึงวิธีที่คุณสามารถป้องกันฟังก์ชันของเซิร์ฟเวอร์จากการปิดระบบแบบผิดปกติ ในกรณีที่มีการสูญเสียพลังงาน.

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสำรองข้อมูลและการกู้คืนประกอบด้วยข้อมูลทางด้านเทคนิค, ความชำนาญ, แลข้อมูลแบบ "how"
3.การเปิด/ปิดการรับเเจ้งข่าวสาร ตัวอย่างเช่น
ใช้การแจ้งเตือนใน iPhone, iPad และ iPod touch
การแจ้งเตือนจะช่วยอัพเดทสิ่งต่างๆ เพื่อให้คุณไม่พลาดเรื่องราวตั้งแต่การเตือนภายในแอพไปจนถึงข้อมูลข่าวสารในวันนั้น

ใช้ศูนย์การแจ้งเตือน

ศูนย์การแจ้งเตือนจะแสดงการเตือนล่าสุด เช่น กิจกรรมในปฏิทิน หรือสายที่ไม่ได้รับ
หากต้องการดูศูนย์การแจ้งเตือน คุณสามารถปัดลงจากหน้าจอใดก็ได้ รวมถึงหน้าจอล็อคด้วย แตะการเตือนในศูนย์การแจ้งเตือนเพื่อเปิดใช้ หรือแตะ  เพื่อล้างการเตือน
หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถใช้ 3D Touch เพื่อตอบสนองการแจ้งเตือนในศูนย์การแจ้งเตือนได้ กดลงน้ำหนักที่การแจ้งเตือนเพื่อตอบสนอง คุณยังสามารถใช้ 3D Touch เพื่อล้างการแจ้งเตือนได้ด้วย เพียงกดลงน้ำหนักบน  แล้วแตะล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด
หากต้องการจำกัดสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอล็อค ให้เปลี่ยนการตั้งค่าการแจ้งเตือน

การแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อค

ใน iOS 10 คุณสามารถโต้ตอบกับการแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อคเพื่อติดตามข่าว ตอบกลับข้อความ และอื่นๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องปลดล็อคอุปกรณ์
ต่อไปนี้คือวิธีที่คุณสามารถดูและโต้ตอบกับการแจ้งเตือนจากหน้าจอล็อค
หากต้องการดูหน้าจอล็อค ให้กดปุ่มโฮมหรือปุ่มพัก/ปลุก หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า ให้ยกโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อดูหน้าจอล็อค
หากต้องการตอบการแจ้งเตือน ให้ปัดการแจ้งเตือนนั้นไปทางซ้าย แล้วแตะเพื่อตอบสนอง หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถใช้ 3D Touch ได้ เพียงกดลงน้ำหนักที่การแจ้งเตือน แล้วตอบกลับ
หากต้องการเปิดแอพเพื่อตอบกลับ ให้ปัดการแจ้งเตือนนั้นไปทางขวา

เปลี่ยนลักษณะการเตือนและการตั้งค่าการแจ้งเตือน

ปรับแต่งการแจ้งเตือนให้มีลักษณะการเตือนแตกต่างกันออกไป เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการกับอีเมล คำเชิญบนปฏิทิน ข้อความ และอื่นๆ อีกมากมายได้อย่างรวดเร็ว หากต้องการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการเตือนให้กับการแจ้งเตือน ให้ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วเลือกแอพ
การแจ้งเตือนจากแอพอาจมีลักษณะการเตือนดังต่อไปนี้
ป้ายประกาศ: การเตือนแบบป้ายประกาศจะปรากฏที่ด้านบนสุดของหน้าจอ แล้วหายไปโดยอัตโนมัติ หากต้องการตอบกลับ ให้ปัดลงจากป้ายประกาศ หรือปัดขึ้นเพื่อยกเลิก  หากคุณมี iPhone 6s หรือใหม่กว่า คุณสามารถตอบสนองการเตือนแบบป้ายประกาศโดยใช้ 3D Touch เพียงกดลงน้ำหนักที่การเตือนแบบป้ายประกาศเพื่อตอบสนอง
การเตือน: สำหรับการเตือน คุณจะต้องดำเนินการก่อนที่คุณจะไปสู่ขั้นต่อไป โดยคุณสามารถปิดการเตือนนั้นหรือตอบกลับก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแอพนั้น
ป้ายกำกับ: ป้ายกำกับเป็นตัวเลขสีแดงที่อยู่บนไอคอนแอพ ซึ่งจะแสดงจำนวนการแจ้งเตือนที่อยู่ในแอพนั้นๆ ให้คุณเห็น
เสียง: ให้แอพเล่นเสียงเตือนคุณ เมื่อได้รับการแจ้งเตือน

ตั้งค่าการเตือนโดยอิงจากตำแหน่งที่ตั้ง

บางแอพใช้ตำแหน่งที่ตั้งเพื่อส่งการเตือนที่เกี่ยวข้องให้คุณโดยอิงจากตำแหน่งที่คุณอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณอาจได้รับการเตือนความจำให้โทรหาใครสักคนเมื่อคุณมายังสถานที่ที่ระบุไว้ หรือเมื่อคุณออกเดินทางไปยังสถานที่ต่อไป
คุณสามารถปิดได้หากคุณไม่ต้องการการเตือนประเภทนี้ ไปที่การตั้งค่า > ความเป็นส่วนตัว > บริการหาตำแหน่งที่ตั้ง แล้วแตะแอพเพื่อเปิดหรือปิดการเตือนที่อิงจากตำแหน่งที่ตั้งของคุณ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการหาตำแหน่งที่ตั้ง
หากคุณไม่เห็นการแจ้งเตือนของแอพบางแอพ

หากต้องการรับการแจ้งเตือน ให้เชื่อมต่อ Wi-Fi หรือเครือข่ายเซลลูลาร์ หากคุณไม่ได้รับการแจ้งเตือนจากแอพที่ต้องการ ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
ดูให้แน่ใจว่าแอพนั้นรองรับการแจ้งเตือนหรือไม่ ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วเลือกแอพ และดูให้แน่ใจว่าเปิดการแจ้งเตือนไว้แล้ว
หากคุณเปิดการแจ้งเตือนสำหรับแอพแล้ว แต่ไม่ได้รับการเตือน เป็นไปได้ว่าลักษณะการเตือนอาจตั้งค่าไว้เป็น "ไม่มี" ไปที่การตั้งค่า > การแจ้งเตือน แล้วตรวจสอบว่าลักษณะการเตือนถูกตั้งค่าให้เป็นป้ายประกาศหรือการเตือน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ลงชื่อเข้าใน Apple ID แล้ว ไปที่การตั้งค่า > iTunes Store และ App Store แล้วป้อน Apple ID และรหัสผ่านของคุณ
ดูให้แน่ใจว่าห้ามรบกวนปิดอยู่ ไปที่การตั้งค่า > ห้ามรบกวน แล้วแตะกำหนดเองหากเปิดอยู่
หากคุณเพิ่งติดตั้งแอพหรือกู้คืนจากข้อมูลสำรอง ให้เปิดแอพเพื่อเริ่มรับการแจ้งเตือน


4.การตั้งค่าระดับการควบคุมบัญชีผู้ใช้
การควบคุมบัญชีผู้ใช้จะแจ้งให้คุณทราบเมื่อโปรแกรมซอฟต์แวร์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งต้องใช้การอนุญาตในระดับผู้ดูแลระบบ การควบคุมบัญชีผู้ใช้จะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากการเปลี่ยนแปลงโดยแหล่งที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.การตั้งค่าการอัปเดตซอฟต์เเวร์
การอัพเกรดซอฟต์แวร์จะก่อให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น
1.ปรับปรุงประสิทธิภาพและเสถียรภาพ
2.แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องและข้อผิดพลาด
3.อัพเกรด OS และฟีเจอร์ใหม่

ารรักษาความปลอดภัยบน iOS แพล็ตฟอร์ม ทางแออเปิลจะมี iCloud ไว้คอยบริการเพื่อ
1.การค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องด้วย Find My iPhone
2.การสำรองข้อมูลและเก็บรักษาบริการออนไลน์
3.การอัปเดตซอฟต์แวร์

การรักษาความปลอดภัยบน Android แพล็ตฟอร์ม ประกอบด้วย
1. การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น มัลแวร์ และไวรัสคอมพิวเตอร์
2.การเลือกติดตั้งแอปจากสโตร์ที่น่าเชื่อถือ
3.การใช้แอป Device Manager เพื่อช่วยติดตามอุปกรณ์ (คล้ายกับ Find My iPhone)
4.การอัปเดตซอฟต์แวร์

เนื่องจาก Android เป็นระบบเปิด จึงเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ ง่ายกว่า iOS ซึ่งเป็นระบบปิด


ความปลอดัยพื้นฐาน สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ประกอบด้วย

1.การตั้งล็อกอัตโนมัติ
2.การตั้งรหัสผ่าน

เเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.แพล็ตฟอร์มหมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สภาวะแวดล้อมที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เช่น แพลตฟอร์มเอ็มเแสดอสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80486, ยูนิกส์ บนเครื่องซัน SPARC station, System 7 บนเครื่องแมคอินทอช Powerbook 180

2.จงสรุปความปลอดภัยบนวินโวส์ (Windows) แพล็ตฟอร์มมาพอเข้าใจ
ตอบคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันหรือกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำหใ้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้ง่ายขึ้น

3.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนไอโอเอส (iOS) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ iOS เป็นแพล็ตฟอร์มที่ปลอดภัยกว่า ตัวอย่างเช่นว่า รายงานจากกรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีมัลแวร์โมบายเพียง 0.7% เท่านั้นที่พุ่งเป้าโจมตี iOS เมื่อเปรียบเทียบกับ 79% ที่จ้องเจาะจ้องโจมตี Android

4.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนแอนดรอยด์(Andriod)เเพล็ตฟอร์มมาพอเข้าใจ
ตอบการรักษาความปลอดภัยเข้าไปในระบบเพื่อปกป้องข้อมูล แอพพลิเคชัน ตัวอุปกรณ์ เครือข่าย และผู้ใช้เองด้วย การรักษาความปลอดภัยระบบที่เป็นแบบโอเพ่นซอร์สถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย ต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แน่นนา และมีการออกแบบการป้องกันหลายชั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความอ่อนตัว การรักษาความปลอดภัยบนระบบมือถือแบบแอนดรอยด์ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เนื่องจากมัลแวร์หรือไวรัสมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังโชคดีที่ปัจจุบันก็มีแอพพ์ป้องกันมัลแวร์หรือไวรัสก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัย

5.ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การตั้งล็อกอัตโนมัติ
         2.การตั้งรหัสผ่าน

6.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้งานอยู่ไม่ว่าจะเป็นพีซี แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ลำพังตัวนักเรียนเองมีระบบการป้องกันความปลอดภัยอะไรบ้างให้กับเครื่อง
ตอบ 1.การตั้งรหัสผ่าน
         2.ควรบันทึกข้อมูลสำรองที่สำคัญของคุณทุกๆสัปดาห์
         3.ควรตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณอย่างสม่ำเสมอ 
         4.ในเมนูหลักของเบราเซอร์ กรุณาเลือก ‘Tools’ แล้วเลือก ‘Internet Options’ หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้นกรุณาเลือก Tab ‘Security’ แล้วเลือก ‘Custom Level' คุณจะสามารถตั้งค่ารักษาความปลอกภัยให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณได้ที่นี่
         5.ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-virus) ติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสมอ

7.นักเรียนคิดว่า Find My iPhone ซึ่งเป็นแอปติมตามมือถือที่ทางแอปเปิลเปิดบริการเเก่ผู้ใช้อุปกรณ์จากค่ายแอปเปิล มีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์คือสามารถเอาไว้ใช้ตามหามือถือที่สูญหายได้

8.ระหว่างระบบปฏิบัติการiOSเเละAndroidนักเรียนมีความพอใจระบบปฏิบัติการตัวใดเป็นพิเศษ เพราะอะไร จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ Android เพราะเหมือนคอมพิวเตอร์เลย ติดตั้งแอพจากไหนก็ได้ เชื่อมต่อแกับอุปกรณ์ภายนอกได้ง่าย (เสียบ USB กับคอมเครื่องไหนก็ได้) เข้าถึงไฟล์ต่างๆและปรับแต่งการตั้งค่าของเครื่องได้

9.ระบบปฏิบัติการแบบเปิดกับเเบบปิด คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)ในสมัยก่อนผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการคือบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น เรียกระบบปฏิบัติการประเภทนี้ว่า ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary operating system) ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันนี้เครื่องระดับเมนเฟรมผู้ขายก็ยังคงเป็นผู้กำหนดความสามารถของระบบปฏิบัติการของเครื่องที่ขายอยู่ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบการสามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ (Protable operating system) เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการแบบปิด (Proprietary Operating System)เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียวไม่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปได้

10.เพราะเหตุใดทำไมAndroidจึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากกว่าiOS
ตอบข้อสมมติฐานง่ายๆ อาจบอกว่า iOS เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยกว่า ตัวอย่างเช่นว่า รายงานจากกรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีมัลแวร์โมบายเพียง 0.7% เท่านั้นที่พุ่งเป้าโจมตี iOS เมื่อเปรียบเทียบกับ 79% ที่จ้องเจาะจ้องโจมตี Android


เเหล่งอ้างอิง


-หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002
-https://support.apple.com/th-th/HT201925
-http://support.hp.com/th-th/document/c03041787
-http://www.samsung.com/th/support/usefulsoftware/FOTA/





























บทที่ 6 การติดตั้งไดรเวอร์เเละงานปรับเเต่งพื้นฐาน

บทที่ 6

การติดตั้งไดรเวอร์เเละงานปรับเเต่งพื้นฐาน



        ไดรเวอร์ (Driver) เป็นซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กับ ระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้
        ไดรเวอร์ (Driver) เป็นซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมประเภทหนึ่งซึ่งใช้ในการเป็นตัวกลางประสานเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) กับ ระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ เปรียบได้ดังเช่นความหมายโดยตรงของคำนี้ ซึ่งก็คือ คนขับรถ หากไม่มีไดรเวอร์ หรือ คนขับรถ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจใช้ได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร เหมือนกับรถที่ไม่สามารถแล่นไปได้ด้วยดีนั่นเอง
        ทุกครั้งที่เราเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปใหม่ เช่น หากต้องการจะติดตั้งการ์ดจอชื่อดังยี่ห้อหนึ่งที่เพิ่งซื้อมาใหม่ คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นชื่ออะไร ทำอะไรได้บ้าง และต้องสั่งงานมันอย่างไร เราจะต้องลงโปรแกรมเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย ซึ่งโปรแกรมนั้นก็คือ ไดรเวอร์ นั่นเอง
        หากเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ เช่น Windows 98, Windows 2000 เราแทบจะต้องลงไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์แทบทุกตัว แต่ใน Windows XP จะเริ่มมีระบบ Plug and Play ซึ่งก็คือ อุปกรณ์บางตัวที่สนับสนุนสามารถเชื่อมต่อแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้องลงไดรเวอร์ ทั้งนี้ เพราะตัวระบบปฏิบัติการเองจะมีไดรเวอร์ที่รองรับไว้อยู่แล้ว สำหรับอุปกรณ์บางอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคของ Windows 7 จะมีไดรเวอร์พื้นฐานของ Hardware รุ่นดังๆ เก็บไว้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนใหญ่แทบไม่ต้องลงไดรเวอร์เพิ่มเติมก็สามารถใช้งานได้

        Device manager ในระะบบปฏิบัติการ Windows เป็นศูนย็ร้วมของเหล่าอุปกรณ์ที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ โดยรายการฮาร์ดเเวร์ทั้งหมดในเครื่อง สามารถได้รับการปรับตั้งค่าผ่านศูนย์กลางเเห่งนี้

ความละเอียดของจอภาพหมายถึง จำนวนจุดภาพที่ใช้ประกอบกันเป็นภาพหรือความละเอียดจากการสแกนภาพ การแสดงภาพได้ละเอียดมากเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่า SVGAความละเอียดของภาพสามารถบอกเป็นตัวเลขสองจำนวน เช่น ความละเอียดของภาพขนาด1024x768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถสร้างออกมาได้ ในกรณีนี้เลขจำนวนแรกคือจำนวนจุดในแนวนอนซึ่งเท่ากับ 1024 จุด ตัวเลขจำนวนที่สองคือจำนวนจุดในแนวตั้ง ซึ่งเท่ากับ 768 จุด

       เปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD

       เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ 
- Full HD (High Definition) 1920 x 1080
- HD (High Definition) 1280x720
- PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768
- SD (Standard Definition) PAL TV 768x576
- SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480
- CIF (Common Intermediate Format) 352x288
- QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144


      ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ SD ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป



HDTV ( High Definition Television ) 
      มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง" หรือ "โทรทัศน์รายละเอียดสูง"  หรือเรียกสั้นๆ ว่า HDTV เป็นคำสั้นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงภาพวิดีโอ โดยเลข 1080 หมายถึง จำนวนความละเอียดของเส้นในแนวนอน 1,080 เส้น และตัวอักษร p ย่อมาจาก Progressive Scan หรือ non-interlaced ในขณะที่ i ย่อมาจาก interlaced ปัจจุบันทั้ง 1080i และ 1080p เป็นฟอร์แมตความละเอียดสูงสุด ที่ใช้กันทั่วไปในการแพร่ภาพโทรทัศน์และการเก็บภาพวิดีโอ

      ดังนั้น 1080p จึงเป็นสัญญาณภาพแบบ HDTV โดยมีการรับส่งสัญญาณภาพในแบบจอกว้างหรือไวด์สกรีน ( Widescreen ) อัตราส่วน 16:9 นั่นหมายความว่า ความละเอียดของการแสดงจะผลอยู่ที่ 1920 จุดในแนวนอน และมีความละเอียด 1080 จุดในแนวตั้ง รวมเท่ากับ 1920 x 1080 หรือเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล )

คำว่า Full HD และ HD-Ready มีความหมายอย่างไร
      Full HD หมายถึงการแสดงผลของจอภาพโทรทัศน์ที่ให้รายละเอียดจำนวนของเส้นในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น ทั้งแบบ 1080i และ 1080p ถือว่าเป็นแบบ Full HD สำหรับจอแสดงภาพในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น นั่นคือเป็นคำจำกัดความของจอภาพแบบ  Full HD จะแสดงผลทางแนวตั้งและแนวนอน เท่ากับ 1920x1080 จุด ซึ่งเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล ) นั่นเอง
      
      HD Ready คำนี้จะใช้สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำกว่า Full HD ไม่ว่าจะเป็นขนาดภาพ 1366x768 หรือ 1024x768 หรือ 1280x720 สำหรับจอภาพโทรทัศน์ที่โฆษณาว่าเป็น HD Ready นั้นจะรองรับการนำเข้า input HDMI รับสัญญาณภาพจากเครื่องเล่นที่เป็น Full HD ( 1080i หรือ 1080p ) เช่น..เครื่องเล่น Blu-ray มีขนาดภาพ Full HD 1920x1080 (pixels) ส่งต่อสัญญาณภาพให้โทรทัศน์ที่มีขนาดจอภาพเป็น HD เพียง 1280x720 (pixels) เครื่องรับโทรทัศน์จะทำการ Down Scale ให้เหลือแค่ Native Resolution ให้แสดงผลเท่าที่จอภาพของมันจะทำได้เท่านั้น คือจากขนาดภาพ 1920x1080 pixels (1,080 เส้น) เหลือเพียงขนาดภาพ 1280x720 (720 เส้น) เหมือนว่ารองรับสัญญาณภาพ Full HD 1920x1080 (1,080 เส้น) แต่จริงๆแล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์เพียง 1280x720 (720 เส้น) เท่านั้น จึงเรียกว่า HD-Ready ( แปลว่า...พร้อมสำหรับ HD แต่ไม่ใช่ Full HD )
      
      ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ยอมรับว่าการแสดงผลแบบ 1080p ถือว่าเป็น Full HD แต่สำหรับการแสดงผลแบบ 1080i แค่ยอมรับได้ว่าเป็น HD  แต่ทางอเมริกากำหนดว่าการแสดงผลแบบ 1080i และ 1080p เป็นแบบ Full HD ส่วนการแสดงผลแบบ 720p ที่มีจำนวนเส้นในแนวนอน 720 เส้น แบบ Progressive Scan นั้นเป็นเพียง HD ธรรมดา  ( แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่า 720p เป็น HD เพราะประเทศญี่ปุ่นมีมาตรฐานสูงและเป็นผู้พัฒนาระบบ HD เป็นประเทศแรก เขายังกล่าวว่าสามารถผลิตภาพที่มีความคมชัดสูงมากกว่านี้ ที่เรียกว่า Super Vision Television ซึ่งผมเคยไปเห็นด้วยตามาแล้ว... )

     ส่วนภาพขนาด 720i ( 720 เส้น แบบ interlaced ) ไม่ถือว่าเป็น HD แต่เป็นแบบ EDTV (Extended Definition Television) ระดับภาพแบบมาตรฐานของเครื่องเล่น DVD หรือ HD-DVD

สรุปตามขนาดการแสดงภาพแบบ HD ซึ่งเป็นสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้ว่า
- ขนาดภาพแบบ Full HD เท่ากับ 1,920 x 1,080 pixels = 2,073,600 พิกเซล
- ขนาดภาพแบบ HD เท่ากับ 1,280 x 720 pixels = 921,600 พิกเซล ( ไม่ใช่ Full HD )

อัตราส่วนของจอภาพ สำหรับ HD คือ ขนาดความกว้าง x ความสูง เป็น 16 ต่อ 9 (16:9) ซึ่งเปรียบเทียบค่าได้จากการนำค่าของความกว้างกับความสูงมาหารกัน ดังนี้ 1,920/1,080 เท่ากับ 16/9 และ 1,280/720 เท่ากับ 16/9 เหมือนกันนั่นเอง








XGA ( Extended Graphics Array )
     คือคำที่เรียกการแสดงผลของจอภาพคอมพิวเตอร์ ( Monitor Computer ) ย่อมาจาก Extended Graphics Array (แปลว่าขบวนปรับภาพแบบขยาย) เป็นชนิดจอ LCD หรือ LED มีหลายมาตรฐาน คือ

VGA ( Video Graphics Array )
SVGA ( SuperVideo Graphics Array )
SXGA ( Super Extended Graphics Array )
UXGA ( Ultra Extended Graphics Array )

มีความละเอียดตั้งแต่

VGA คือ ขนาดภาพ 640x480 พิกเซล ( 4:3 )
SVGA คือ ขนาดภาพ 800x600 พิกเซล ( 4:3 )
XGA คือ ขนาดภาพ 1024x768 พิกเซล ( 4:3 )
SXGA คือ ขนาดภาพ 1280x1024 พิกเซล ( 4:3 )
SXGA+ คือ ขนาดภาพ 1400x1050 พิกเซล ( 4:3 )
UXGA คือ ขนาดภาพ 1600x1200 พิกเซล ( 4:3 )

แล้วยังมีขนาดอัตราส่วนอื่นๆ อีก ที่ขึ้นต้นด้วย W เรียกว่า Wide Screen (จอกว้าง) คือ
WVGA คือ ขนาดภาพ 840x480 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA คือ ขนาดภาพ 1280x800 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA+ คือ ขนาดภาพ 1440x900 พิกเซล ( 16:10 )
WSXGA คือ ขนาดภาพ 1680x1050 พิกเซล ( 16:10 )
WUXGA คือ ขนาดภาพ 1920x1200 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA (HD-Ready) คือ ขนาดภาพ 1366x768 พิกเซล ( 16:9 )
WSVGA (Full HD) คือ ขนาดภาพ 1920x1080  พิกเซล ( 16:9 )








SDTV ( Standard Definition Television ) 
        โทรทัศน์ระบบอนาล็อกเดิม มีการแสดงภาพอยู่ 3 ประเภท คือ NTSC, PAL, SECAM ซึ่งการส่งภาพโทรทัศน์นี้เราเรียกว่า SD หรือ SDTV ( Standard Definition Television ) เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โทรทัศน์ความชัดเจนมาตรฐาน" เรามาวิเคราะห์ที่การแสดงผลบนหน้าจอโทรทัศน์กัน ดังนี้
        
NTSC (National Television System Committee)______60 Field/second , 30 Frame/second , 525 Line/Frame 
PAL (Phase Alternate Line)______________________50 Field/second , 25 Frame/second , 625 Line/Frame 
SECAM (Sequential Color and Memory)____________50 Field/second , 25 Frame/second , 625 Line/Frame

ระบบ NTSC
      กล่าวคือระบบ NTSC จะถูกบันทึกภาพมีรายละเอียดทางแนวนอน 858 จุด (Pels) และใช้เส้นสแกนภาพทางแนวตั้ง 525 เส้น เสมือนมีจุดภาพทางแนวตั้งเท่ากับ 525 จุด แต่ในการแสดงภาพจริงที่หน้าจอ ( Active Area ) ให้รายละเอียดของภาพทางแนวนอน 720 จุด และทางแนวตั้งเพียง 480 จุดเท่านั้น จะให้รายละเอียดภาพรวม ( 720 x 480 ) เท่ากับ 345,600 จุด มีอัตราส่วนของการแสดงภาพ 1.5:1( 3:2 )

ระบบ PAL และ SECAM 
     แต่ระบบ   PAL และ SECAM มีการแสดงภาพจริงที่หน้าจอให้รายละเอียดของภาพทางแนวนอน 720 จุด ( มีเครื่องรับโทรทัศน์บางยี่ห้อแสดงรายละเอียดได้ 768 จุด ) และแสดงรายละเอียดของภาพทางแนวตั้ง 576 จุด ให้รายละเอียดภาพรวม ( 720 x 576 ) เท่ากับ 414,720 จุด ( หรือ 768 x 576 = 442,368 จุด ) มีอัตราส่วนของการแสดงภาพใกล้เคียงมาตรฐาน 4:3

หากจำแนกการแสดงผลของจอภาพ จะสรุปได้ว่า
- ระบบ NTSC มีขนาดภาพจริง 720 x 480
- ระบบ PAL และ SECAM มีขนาดจริง 768 x 576 หรือ 720 x 576

อัตราส่วนของการแสดงภาพ ( Accept Ratio ) ที่มีมาตรฐาน 4:3 ( 1.33:1 ) จริงๆก็คืออัตราการแสดงผลที่หน้าจอของคอมพิวเตอร์ มีอัตราส่วนอยู่ที่ 640x480, 800x600, 1024x768 ซึ่งเราจะพบเห็นได้บ่อยๆ และอัตราส่วนของภาพนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าภาพมีความคมชัดเท่าใด แต่ความละเอียด ( Resolution ) ต่างหากจะเป็นตัววัดความคมชัดของการแสดงภาพ






CIF (Common Intermediate Format) 
        CIF คือ ขนาด 352x288 พิกเซล ที่ใช้มาตรฐานการบีบอัด H.261 จาก ITU (International Telecom Union) บีบอัดทั้งภาพและเสียงให้มีขนาดที่ลดลงมากที่สุดแต่ให้ภาพชัดที่สุด  ซึ่งใช้ในการบันทึกภาพของกล้องวงจรปิด CCTV และเป็นคุณสมบัติของการถ่ายภาพวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือ

QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 
        QCIF คือ ภาพขนาด 176x144 พิกเซล  โดย Q ย่อมาจาก Quarter = 1/4  และ QCIF  คือขนาดภาพ 1 ใน 4 ของแบบ CIF ใช้มาตรฐานการบีบอัด H.261 โดยฟอร์แมตที่ได้เป็นสกุลไฟล์ .3GPP เช่นเดียวกันกับขนาดไฟล์วิดีโอ 352x288 พิกเซล อัตราเล่นต่อเนื่อง 15 เฟรม/วินาที

      SubQCIF คือขนาดไฟล์วิดีโอ 128x96 พิกเซล อัตราเล่นต่อเนื่อง 15 เฟรม/วินาที 
      
      โดยปกติแล้วสายตาคนเรามองภาพเคลื่อนไหวได้ 24 เฟรม/วินาที ภาพจึงจะไม่กระตุก แต่โทรศัพท์มือถือปัจจุบันจะอยู่ที่ 15 เฟรม/วินาที ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการประมวลของโทรศัพท์มือถือด้วยที่จะทำให้การแสดง ภาพวิดีโอไม่กระตุก


      โทรศัพท์มือถือที่มีคุณสมบัติในการถ่ายวิดีโอแต่ละรุ่นจะมีขนาดความละเอียดของภาพสูงสุดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับราคา ยิ่งแพงก็ยิ่งมีคุณสมบัติในการทำงานสูง ดังนั้นขนาดความละเอียดของภาพนั้นสูงแล้วล่ะก็ จะทำให้ภาพวิดีโอที่ได้นั้นมีคุณภาพยิ่งขึ้น

       Screen Saver คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่รักษาจอภาพ หากเราเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งเอาไว้นาน ๆ โดยปล่อยให้จอภาพแสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆเลย จะทำให้จอภาพของเรามีรอยไหม้เกิดขึ้น และรอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ หรือไม่บางทีอาจทำให้จอมืดไปเลยก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงมีมนุษย์คิดประดิษฐ์โปรแกรมถนอมจอภาพนี้ขึ้น ด้วยหลักที่ว่า หากเราไม่ได้แตะต้องคอมโดยปล่อยให้จอภาพค้างภาพเดิมอยู่นาน X นาที ( X= ระยะเวลาที่เราสามารถกำหนดเองได้) ตัวโปรแกรม Screen Saver ก็จะทำงานทันที โดยบางโปรแกรมอาจมีภาพเคลื่อนไหว หรือตัวหนังสือวิ่งไปวิ่งมา หรือบางโปรแกรมอาจมีเสียงเพลงดังขึ้นมาด้วย เมื่อเราขยับเมาส์ หรือแตะที่แป้นพิมพ์แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหวอยู่ ก็จะหายไป และกลับเป็นหน้าจอเหมือนเดิม 

       Screen Saver เหล่านี้จะช่วยให้จอมีการแสดงภาพเปลี่ยนไปมาเรื่อย ๆ เพื่อรักษาหน้าจอเท่านั้น ไม่ได้เป็นการพักเครื่องหรือพักการทำงานของ CPU เพราะซีพียู ยังคงจะต้องทำงาน อยู่เหมือนเดิม เจ้า Screen Saver นี้สามารถดาวน์โหลดได้ในอินเตอร์เน็ต และทำการติดตั้งได้ง่าย โดยโปรแกรม Screen Saver ส่วนใหญ่จะมีชื่อนามสกุลของไฟล์เป็น .scr ให้ทำการ copy ไฟล์นั้นไปเก็บไว้ใน Folder ที่ชื่อ C:\WINDOWS\SYSTEM หลังจากนั้น เมื่อเข้ามาดูในเมนูของการเลือก Screen Saver จะเห็นรายชื่อเพิ่มเติมเข้ามาให้เลือกใช้งานได้ หรือหากยังไม่ถูกใจ เลยอยากลองทำ Screen Saver ด้วยตัวเองก็มีโปรแกรมช่วยสร้าง Screen Saver มากมาย อาทิเช่น PK Screen Saver, InstantStorm 2.0 , Nature Illusion Screensaver , Screen Saver Studio v2.01, Active Screen Saver Builder เป็นต้น


ตัวอย่างโปรแกรม Screen Saver ใน Windows

Screen Saver คืออะไร สกรีน เซฟเวอร์ คือ โปรแกรมรักษาจอภาพคอมพิวเตอร์



เเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ที่ 6
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. โปรแกรมไดรเวอร์คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมประเภทหนึ่งซึ่งใช้ในการเป็นตัวกลางประสานเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) กับ ระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้

2. มานะบอกกับมานีว่า ฉันติดตั้ง Windows แล้ว ไม่เห็นต้องติดตั้งไดรเวอร์อะไรให้ยุ่งยากเลยคอมพิวเตอร์ก็ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามปกติ หากนักเรียนเป็นมีนา จะอธิบายให้มานะให้เข้าใจได้อย่างไร
ตอบ  ถ้าไม่ติดตั้งไดรเวอร์อาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก หรือ ในกรณีที่อุปกรณ์บางตัว ตัวระบบปฏิบัติการ Windows ได้นำไดรเวอร์มาตรฐานมาใช้งานแทน

3. ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตรงส่วนใดที่ใช้เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ
ตอบ Device Manager

4. การปรับตั้งค่า Refresh Rate บนจอภาพ LCD มีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะไม่จำเป็นต้องปรับตั้งค่าใดๆ สามารถใช้ค่าปกติ

5. การตั้งค่า Screen Saver บนจอภาพ LCD มีส่วนขยายถนอมจอภาพโดยตรงหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ไม่ เพราะ จอLCD เป็นจอภาพรุ่นใหม่ การเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆจึงมิได้ส่งผลกระทบให้จอภาพเสื่อมลง

เเหล่งอ้างอิง

-หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา 2128-2002
-https://notebookspec.com/topics/device-manager/
-http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/rungthip_w/graphic/sec03p02.html
-http://dtv.mcot.net/data/up_show.php?id=1308457157&web=epost