วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4 ประเภทของโปรเเกรมระบบปฏิบัติการ

ความเเตกต่างของระะบบปฏิบัติการ

        ระบบปฏิบัติการชนิดต่างๆ ถูกออกเเบบเเละสร้างขึ้นพื้นฐานของความต้องการที่เเต่กต่างกัน อันได้เเก่
        1.อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
        2.ประเภทของระบบปฏิบัติการ
        3.ชนิดของซิพียูที่สนับสนน
        อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
        อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ สามารถถูกออกเเบบให้อยู่ในรูปเเบบของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือเเบบกราฟิกก็ได้
        อินเตอร์เฟซเเบบสั่ง (Command Line)
        เป็นอินเตอร์เพซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ







        อินเตอร์เฟซเเบบกราฟิก (Graphics User Interface : GUI)
     
        ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบมักถูกออกเเบบเป็น GUI ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามเเล้ว ยังดึงดูดความสนใจเเก่ผูใช้งานให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น





        ประเภทของระบบปฏิบัติการ
        ระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดเเบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

        ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems)
       
        เป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว เช่น
ระบบปฏิบัติการ Windows7,Windows  XP ,Windows  8



        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(Network Operating Systems)

        เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบเครือข่ายเป็นหลัก สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายต่างๆ เช่น Windows Server , Unix



        ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

        โดยทั่วไปเเล้ว ระบบปฎิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูของเครื่องพีซีทั่วไป เครื่อเซิร์ฟเวอร์ หรืออุกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการเเบบ 32 บิต เเละ 64 บิต ให้เลือกใช้งาน นอกจากนี้สถามปัตยกรรมของซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องพีซีทั่วไป ก็ยังมีทั้งซีพียูเเบบ CISC เเละ RISC

ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคลเเละเซิร์ฟเวอร์

        ในหัวข้อนี้ จะขอกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เเละ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้เเก่ ระบบปฏิบัติการ DOS,Windows,windows Server,Mac-OS,Unix เเละ Linux

        ดอส (Disk Operating System :DOS)

        ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวรการเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส 
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
    1. กดปุ่ม Reset
    2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ


ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

วินโดวส์ (Windows)
Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส 

     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น



Windows XP



 


Windows Vista

 


Windows 7


Windows 8
ข้อแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของ Windows 8 (ที่กำลังจะมาในปี 2012 นี้)กับ Windows 7 และรุ่นเก่า ก็คือการออกแบบมาเพื่อให้ทำงานบน Tablet เพิ่มเติมขึ้น นอกเหนือจากใช้บน Desktop และใน Notebook โดย Windows 8 ได้เพิ่ม Interface ใหม่ที่เรียกว่า Metro interface รองรับการทำงานในแบบ touchscreen อย่างสมบูรณ์  ซึ่งจะรองรับชิปประมวลผลประเภท SoC(Systems on a chip) เช่น Nvidia Tegra 2, Qualcomm Snapdragon จึงทำให้สามารถใช้เป็นระบบปฎิบัติการร่วมบน Tablet PC ได้อย่างสมบูรณ์แบบ




                                                                     Windows 8

Windows Server
Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย Server 


Windows Server


        ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
 Symbian
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีโนเกียเป็นหุ้นส่วนใหญ่ และกำลังจะกลายไปเป็น Symbian Foundation (มูลนิธิซิมเบียน) ที่อาจจะเปิดเป็น OpenSource ในอนาคต ซิมเบียน ถือเป็นระบบที่ใช้ทรัพยากรได้ค่อนข้างคุ้มค่ามากกว่าตัวอื่นๆ และมีปัญหาในระบบค่อนข้างน้อย โดยซิมเบียนในปัจจุบัน มี 2 สายคือ สาย S60 (โนเกียเป็นหัวหอกหลัก) และ สาย UIQ (โซนี่อีริคสันเป็นหัวหอกหลัก) แต่ปัจจุบัน S60 ได้รับความนิยมมากกว่า โดยพัฒนามาจนถึงรุ่น 9.3 แล้ว
ระบบปฏิบัติการ Symbian
  1. ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
  2. โปรแกรม Application มีขนาดเล็ก ไม่เปลือง memory
  3. เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถสร้างโปรแกรมหรือเกมส์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งานกับระบบ Symbian ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้าน Software
  4. รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายในรูปแบบใหม่ (Developing wireless service)
  5.  Windows Mobile
    วินโดวส์โมบาย (Windows mobile) คือระบบปฏิบัติการที่เล็กกะทัดรัดประกอบด้วยชุดแอปพลิเคชั่นพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บน Microsoft Win32 API อุปกรณ์ที่ใช้ระบบวินโดวส์โมบายมี พ็อกเก็ตพีซี, สมาทโฟน, ฟอร์เทบายมีเดียเซ็นเตอร์ ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์

     Android
    เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดย Google
    เจ้าพ่อแห่ง Search Engine ที่ไม่มีใครต้านทานได้ เป็นระบบปฏิบัติการหน้าใหม่ที่เปิดเผยรหัส ทำให้ผู้พัฒนาสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้Google Android Phone ถูกแนะนำตัวอย่างเป็นทางการในงานแสดงเทคโนโลยี Mobile World Congress 2008 เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความเคลือบแคลงใจว่าเมื่อไรจะมีสินค้าออกมาจริงๆ และสมาร์ทโฟนที่นำมาออกงานนี้ใช่ตัวจริงหรือเปล่า เพราะดูจากรูปร่างน่าตาแล้วออกไปทางเครื่อง Palm ที่มีแผงแป้นพิมพ์ QWERTY ขนาดค่อนข้างเล็กและมีความบาง อย่างไรก็ตาม Google เคยปล่อยชุดพัฒนาโปรแกรม (SDK – SoftwareDevelopment Kit) ออกมาให้ดาวน์โหลด เพื่อไปต่อยอดหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นใน Google Android Phone ซึ่งในชุด SDK ก็จะพบกับภาพ Emulator เหมือนกับที่เปิดตัวในงานนี้จริงๆ จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าโทรศัพท์มือถือที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Android คือระบบปฏิบัติการ (OS) หรือแพลตฟอร์ม ที่จะใช้ควบคุมการทำงานบนอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ต่างๆ โดยเริ่มใช้แพลตฟอร์มนี้บนโทรศัพท์มือถือ ที่จะออกในนาม Google เป็นอันดับแรก โดย Android เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source คือ สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรม หรือ ต่อยอดแอพพลิเคชั่นได้อย่างอิสระ ไม่มีขีดจำกัด ซึ่งโครงการที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างก็คือ การแข่งขัน Android Developer Challenge เปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรมออกแบบแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ Android เป็นระบบปฏิบัติการระบบเปิดที่สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือทั้งที่มีจอสัมผัสและไม่มี โดยมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป มีโปรแกรมการใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องอินเตอร์เน็ท


เเหล่งอ้างอิง 
-หนังสือวิชาการเขียนระบบปฏิบัติ
-http://www.t1surat.ac.th
-http://www.mindphp.com
-https://angkana05.wordpress.com
















































        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น