วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ

ความหมายของคอมพิวเตอร์
       
        คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่มนุษย์สั่ง นอกจากนี้ยังสามารถรับข้อมูลภายนอกและนำไปประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ

ประเภทของคอมพิวเตอร์

        1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
        เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ และมีขีดความสามารถสูงที่สุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ภายในสามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้นับพันตัว ทำให้มีพลังการประมวลผลสูงมา เหมาะกับงานคำนวณที่มีความซับซ้อนสูงอย่างงานด้านทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การพยากรณ์ และงานวิจัยนิวเคลียร์ ขีดความสามารถของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สูงมากถึงขนาดรับคำสั่งได้มากถึงหลายล้านคำสั่งต่อวินาที


         2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
         เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ รองจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ นิยมนำมาใช้งานตามภาคธุรกิจขนาดใหญ่ เช่นธนาคาร บริษัทประกันภัย และสายการบิน  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ประมวลผลแบบรวมศูนย์ ด้วยการจัดตั้งเป็นเครื่องแม่ข่ายเพื่อบริการแก่เครื่องลูกข่ายที่มีการเชื่อมต่อนับพันเครื่องสำหรับความเร็วในการประมวลผลของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ จะมีความเร็วในระดับพันล้านคำสั่งต่อวินาที




         3. มินิคอมพิวเตอร์
         เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีขีดความสามารถต่ำกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มักนิยมนำมาใช้กับธุรกิจขนาดกลางทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงแรม และตามโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เมนเฟรมมีหลายขนาดด้วยกัน โดยเฉพาะเมนเฟรมขนาดเล็กจึงทำให้ชื่อ มินิ กลายเป็นอดีตไป  และคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมยังได้รับความนิยมสูงกว่าระดับมินิ อีกด้วย



        4. เวิร์กสเตชั่น
        รูปลักษณ์ภายนอกที่เรียกกันว่าเครื่องสถานีวิศวกรรมนั้นแลดูคล้ายกับเครื่องพีซีแต่เวิร์กสเตชั่นไม่ใช่พีซีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ สมรรถนะหรือขีดความสามารถสำหรับเครื่องเวิร์กสเตชั่นจะประมวลผลได้เร็วมาก เหมาะกับงานคำนวณทางวิศวกรรม งานออกแบบ งานกราฟฟิค และงานทางด้านการแพทย์ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในเครื่องเวิร์กสเตชั่นนั้นคือ  Unix



        5. ไมโครคอมพิวเตอร์
        เป็นคอมพิวเตอร์ระดับเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆตามที่กล่าวมา สามารถนำมาวางไว้บนโต๊ะเพื่อใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้งานส่วนบุคคลหรือใช้งานในระดับองค์กรได้ ที่สำคัญมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆมากมายให้เลือกใช้งานตามลักษณะงาน อีกทั้งยังมีราคาถูก ทำให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เพื่อเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก ในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมมากจนจัดอยู่ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด




องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์   ประกอบด้วย

1. ฮาร์ดแวร์
       หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะทางกายภาพที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชิป และชิ้นส่วนประกอบเชิงกลไกต่างๆ ที่จะทำงานประสานงานกันเพื่อให้เกิดการประมวลผล การจัดเก็บ และการเผยแพร่ข่าวสาร ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ยังถูกแบ่งออกอีกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
      1.1 อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ เครื่องสแกนเนอร์ และไมโครโฟน เป็นต้น
      1.2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)  เช่น หน่วยความจำแรม  หน่วยความจำรอม เป็นต้น
      1.3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Orocessor Units : CPU) จัดเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล แล้วนำมาประมวลผลตามคำสั่ง เพื่อส่งไปยังหน่วยแสดงผล
      1.4 อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง เป็นต้น
      1.5 หน่วยเก็บข้อมูลภายนอก (External Storage) คืออุปกรณ์ที่นำมาใช้บันทึกหรือจัดเก็บข้อมูล/โปรแกรม เพื่อสำรองข้อมูลเก็บไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เทป แผ่นซีดี/วีดีโอิเป็นต้น



2. ซอฟต์แวร์ (Software)
       หมายถึงโปรแกรมชุดคำสั่งที่บอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องทำอะไร โดยตัวโปรแกรมจะถูกเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะถูกแปลภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ คอมพิวเตอร์ก็จะนำเอาคำสั่งนี้ไปควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ทำงาน  ซอฟต์แวร์ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
      2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น Windows , Unix และ Linux
      2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมบัญชี โปรแกรมเงินเดือน โปรกแรมควบคุมสินค้าคงคลัง

3. ข้อมูล ( Data)
       ข้อมูลในที่นี้หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับความจริงทั้งหลาย อาจอยู่ในรูปของตัวเลข หรือรูปภาพ เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ ระดับชั้น เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล

4. กระบวนการ (Procedures)
       คือขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ใช้รับทราบว่า จะมีวิธีการจัดการหรือปฏิบัติการกับข้อมูงเหล่านั้นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อดำเนินเก็บข้อมูลที่ได้มา

5. บุคลากร (People)
       หมายถึงบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ เช่นบุคลากรทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ก็คือ นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์   มีดังนี้

1. ความเร็ว
       คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมาก สามารถทำงานให้สำเร็จได้ในพริบตาซึ่งความรวดเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์มีผลต่อธุรกิจในปัจจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านลูกค้า และผุ้ให้บริการ
2. ความน่าเชื่อถือ
      การทำงานของคอมพิวเตอร์มีความน่าเชื่อถือสูงมาก มีอัตราการผิดพลาดต่ำ ผิดจากมนุษย์ เมื่อมีการทำงานหลายๆชั่วโมง ร่างกายก็จะมีการอ่อนล้า
3. ความเที่ยงตรงและแม่นยำ
       คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูล และคำนวณผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ กล่าวคือ หากมีข้อมูลชุดเดียวกัน หากนำมาผ่านกระบวนการประมวลผลครั้งแล้วครั้งเล่าก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม
4. จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก
       เทคโนโลยีในยุคนี้ล้ำไปมาก ฮาร์ดิสก์ตัวหนึ่งๆ สามารถจุข้อมูลได้มากถึงระดับเทอราไบต์ (TB) แล้ว เพื่อรองรับข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบันที่มีความจุสูง อย่างเช่นข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลสำคัญต่างๆ
5. ความสามารถในการสื่อสารและเครือข่าย
        ในปัจจุบันนอกจากจำนำมาใช้งานส่วนตัวแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อแบบเครือข่ายได้ เช่น เครือข่ายแลน เพื่อแบ่งปันใช้งานทรัพยากรบนเครือข่าย


สื่อบันทึกข้อมูล   ประกอบด้วย

      1. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก   เช่น เทปแม่เหล็ก ดิสเกตต์  และฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น   
      2. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแสง เช่น CD-ROM , DVD-ROM , BD-ROM   เป็นต้น 
      3. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแฟลช  เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD , USB Flash Drive
อุปกรณ์ต่อพ่วง   แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
      1. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์  เช่น คีย์บอร์ด  เม้าส์  ไมโครโฟน สแกนเนอร์
      2. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการแสดงผลข้อมูล  เช่น  จอภาพ จอภาพซีอาร์ที จอภาพแอลอีดี ลำโพง เครื่องพิมพ์  เป็นต้น
      3. อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการจัดเก็บข้อมูล

ความหมายของระบบปฏิบัติการ

       ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ของระบบปฏิบัติการก็คือจะกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
       สำหรับในอดีตที่ได้มีการพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ เป็นต้นมา จึงทำให้เกิดระบบปฏิบัติการในยุคต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ระบบปฏิบัติการรรุ่นที่ 1
       เป็นระบบปฏิบัติการในช่วงปี ค.ศ. 1945-1955 ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นไม่มีระบบปฏิบัติการใช้งาน ดังนั้นเมื่อต้องการสั่งการใช้งาน ผู้ควบคุมจะต้องป้อนคำสั่งภาษาเครื่องเข้าไปก่อนเพื่อควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง

2. ระบบปฏิบัติการรุ่นที่ 2
       เป็นระบบปฏิบัติการในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 ที่รองรับ การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยการประมวลผลแบบกลุ่มคือ การวบรวมงานทั้งหลายมารวมกลุ่มเข้าด้วยกัน จากนั้นจะป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานทีเดียวจนกระทั่งสำเร็จ

3. ระบบปฏิบัติการรุ่นที่ 3
       อยู่ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 ถึงกลางปี 1970 ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถขึ้นไปอีก โดยสามารถรองรับการทำงานแบบ มัลติโปรมแกรมมิ่ง
4. ระบบปฏิบติการรุ่นที่ 4
       อยู่ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สามารถสร้างวงจร หรือชิปขนาดเล็กที่ภายในสามาถบรรจุจำนวนทรานซิสเตอร์มหาศาลได้มากมายก่อให้เกิดไมโครคอมพิวเตอร์ ต่อมาถูกเรียกว่าซีพีคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น MS-DOS ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ได้เกิดระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานแบบมัลติทาสกิ้ง และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็เข้ามาครอบครองตลาดระบบปฏิบัติการเครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่นั้นมา ทั้งนี้ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น Windows 3.11, Windows 95 , Windows 98 , Windows 2000 , Windows ME , Windows XP , Windows Vista , Windows 7 , Windows 8 และล่าสุด Windows 10


หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
       ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่มากมายในการควบคุมเครื่องเพื่อให้ระบบสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวหน้าที่หลักๆ  ดังนี้

1. การติดต่อกับผู้ใช้
       หมายถึงยูสเซอร์อินเตอร์เฟซ ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือโต้ตอบเพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ด้วยการสั่งผ่านคีย์บอร์

2. การควบคุมดูแลอุปกรณ์
       อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากมายซึ่งระบบปฏบัติการจะต้องเข้าไปดูแลและควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เช่น รูทีนควบคุมดิสก์ รูทีนควบคุมจอภาพ รูทีนควบคุมเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

3. การจัดสรรทรัพยากร
       คอมพิวเตอร์จะมีทรัพยากรต่างๆ ไว้คอยบริการแก่ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู หน่วยความจำหลัก อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์อินพุต / เอาท์พุต และด้วยทรัพยากรอย่างจำกัด  จึงต้องได้รับการจัดสรรอย่างมีระบบเพื่อการบริการแก่ผู้ใช้รายต่างๆ ให้เป็นไปอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ




เเหล่งอ้างอิง

-หนังสือวิชาการใช้งานระบบปฎิบัติการ




บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

สิทธิ์การเป็นเจ้าของซอฟต์เเวร์
        

        สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของโปรเเกรมซอฟต์เเวร์ จะระถึงการอนุญาตให้ใช้งานโปรเเกรมภายหลังจากโปรเเกรมซอฟต์เเวร์นั้นถูกพัฒนาขึ้น โดยผู้พัฒนา(อาจเป็นคุคคลหรือระดับองค์กร)จะถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของโปรแกรมดังกล่าว ว่าจะอนุญาตให้นำไปจำหน่าย แป่งปัน หรือเเจกจ่ายหรื่อไม่ รวมถึงขอบเขตการใช่งานต่างๆ ซึ่งผู้ใช้ควรอ่านเเละศึกษาให้ธิ์ ดั้งนั้น ซอฟต์เเวร์ต่างๆ ที่ใช้งานในทุกวันนี้ จะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกันโดยหากพิกัจารณาการจักแบ่งประเภทของซอฟต์เเวร์ในมุมมองท่งการตลาดเเล้วจะ     เเบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน อันได้เเก่

        1.ซอฟต์เเวร์เพื่อการพาณิชย์
คือซอฟต์เเวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายเเละหวังกำไร

        2.เเชร์แวร์ (Shareware)
เป็นโปรเเกรมที่มีลิขสิทธิ์เช่นกัน โดยอาจถูกพัฒนาขึ้นโดยองกรหรือโปรแกรมเมอร์เพียงมีการเเจกจ่ายให้ทดลองใช้งานฟรีในระยะเวลาที่กำหนด

        3.ฟรีเเวร์ (Freeware)
คือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ใช้สามารถนำโปรเเกรมนี้ไปใช้งานได้ฟรี เเล้วสามารถเเบ่งปันให้ผู้อื่นได้

        4.ซอฟต์เเวร์สาธารณะ
คือโปรเเกรมที่ปราศจากลิขสิทธิ์ใดๆ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ในตัวโปรเเกรมนี้ขึ้นมามีจุดประสงค์บริจาคเเก่สาธารณะ

ระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานปิดและมาตรฐานเปิด

        1.ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานปิด
กกกกกกกคือซอฟต์แวร์ที่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ไม่มีการเปิดเผยชุดคำสั่ง เป็นซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียว โดยได้รับใบอนุญาติใต้สิทธิตามกฏหมาย

        2. ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานเปิด
กกกกกกกคือซอฟต์แวร์ระบบแบบ Open Source ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดการอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยชุดคำสั่งสู่สาธารณะ เพื่แให้เหล่านักพัฒนาช่วยกันสร้างซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมา สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ระบบปฏิบัติการ Windows 7
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้เริ่มวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2552 อย่างเป็นทางการ และยังสามารถสร้างยอดจำหน่ายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยระยะเวลาเพียง 3 ปีถัดมามียอดจำหน่ายมากกว่า 600 ล้านชุด
ระบบปฏบัติการ Windows 7  ยังมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ 32 บิต และ แบบ 64 บิต โดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปดังนี้
Windows  7 แบบ 32 บิต รองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 4 กิกะไบต์
Windows  7 แบบ 64 บิต รองรับหน่วยความจำได้ไม่จำกัด
Windows  7 แบบ 64 บิต ทำงานได้เร็วกว่า แบบ 32 บิต
การติดตั้ง Windows  7 แบบ 64 บิต จำเป็นต้องพิจารณาตัวอุปกรณ์ฮาร์ดแสร์ที่ใช้งานอยู่ว่ารองรับหรือไม่
หากเลือกติดตั้ง Windows  7 แบบ 64 บิต โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนระบบ 32 บิต หรือ 64 บิต สามารถใช้งานได้ทั้งคู่ แต่ถ้าเลือกตืดตั้ง Windows  7 แบบ 32 บิต โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่นำมาติดตั้งใช้งาน จะต้องเลือกใช้แบบ 32 บิต เท่านั้น
ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะนำมาติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows  7 นั้น ทางไมโครซอฟต์ได้ระบุสเปกขั้นต่ำไว้ดังนี้
ซีพียูมีความเร็ว  1 GHz ขึ้นไป สำหรับเครื่อง 32 บิต หรือ 64 บิตก็ได้
หน่วยความจำหลัก มีความจุข้นต่ำที่ 1 GHz สำหรับ 32 บิต และ  2 GHz สำหรับ 64 บิต
เนื้อที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ ควรมีความจุขั้นต่ำที่ 16 GB สำหรับระบบ 32 บิต sinvmuj 20 GB สำหรับระบบ 64 บิต
อุปกรณ์แสดงผล DirectX9 พร้อมโปรแกรมควบคุม WDDM 1.0 หรือสูงกว่า
ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows  7

1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart
หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ
Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7
Tab : Boot  “ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”
SET BIOS COMPUTER
สำหรับ Windows 7 แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI 
AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.
โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA
AHCI Mode HDD
2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd ….   ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง  หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ
3. เริ่มเข้า Starting Windows
install Windows 7
3. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup
Language to install : เลือก English
Time and Currency format : เบิอก English (United States)
Keyboard or input method  : เลือก US
install Windows 7 Setup

4. ทำการกด Install Now
install Windows 7 install

5. เลือก I accept the license terms > กด Next
install Windows 7 Setup license

6. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง


1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart
หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ
Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7
Tab : Boot  “ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”
SET BIOS COMPUTER
สำหรับ Windows 7 แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI 
AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.
โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA
AHCI Mode HDD
2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd ….   ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง  หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ
3. เริ่มเข้า Starting Windows
install Windows 7
3. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup
Language to install : เลือก English
Time and Currency format : เบิอก English (United States)
Keyboard or input method  : เลือก US
install Windows 7 Setup

4. ทำการกด Install Now
install Windows 7 install

5. เลือก I accept the license terms > กด Next
install Windows 7 Setup license

6. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง
install Windows 7 custom

7. ในขั้นตอนตรงนี้มี 2 กรณี ให้้เลือกตามที่ผมกำลังจะอธิบายนะ
7.1 กรณีแรก : กรณีเพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ และยังไม่เคยลง Windows แปลว่า Harddisk ยังไม่ได้ใช้แลยังไม่ได้แบ่ง Partitio
7.1.1 .ทำการเลือก DISK ที่เรามีโดยเอาเมาส์คลิกซ้ายเลือก และจะเห็นเมนูให้ทำการกด Drive option (advanced)
install Windows 7 drive option advance
7.1.2 ทำการกด New >
Size ให้ทำการใส่จำนวน Harddisk Drive C ที่เราอยากได้ เช่น 100 GB ก็ให้เอา 1024 คูณไป ก็จะได้ 102400 MB (ผมแนะนำให้ Drive C = 100 GB)  ส่วนที่เหลือก็ให้ทำการคลิก New อีกครั้งแล้วก็แบ่งให้หมดจะได้เป็น Drive D
install Windows 7 new disk

7.1.3  ให้ทำการเลือก Drive ที่เราแบ่งไว้ที่จะเป็น Drive : C โดยทำการคลิกบน Drive นั้นๆ และทำการกด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System / System Reserved
install Windows 7 install windows

7.2 กรณีสอง : กรณีลง Windows มาแล้ว แต่อยากทำการลง Windows 7 ใหม่
7.2.1 ให้ทำการเลือกไปที่ Drive ที่เป็น Drive C เดิมของเราปัจจุบัน (คลิกเมาส์ซ้ายเลือก) จากนั้นกด Format (โดยให้สังเกตุก่อนการ Format ว่า Drive C ของเราคือ Drive ไหน โดยให้สังเกตุจากความจุของ Harddisk หรือเราจะเข้าไปเปลี่ยน Label ของ Drive ก่อนการ Format ก็ได้ เราก็จะได้ไม่ Format ผิด Drive)
ก่อนการ format เราต้อง Backup ข้อมูลของ Drive C ที่เราที่สำคัญของเราด้วยนะ
install Windows 7 format disk

7.2.2  จากนั้นก็เลือก Drive C ที่เรา format ไป > กด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System
install Windows 7 install windows

8. รอทำการติดตั้ง Windows 7
install Windows 7 watting install
การปิดระบบในระบบปฎิบัติการ Windows 7
โดยที่
Shuttdown เป็นการปิดเครื่อง
Switch user เป็นการล็อกออนเข้าบัญชี้ผู้อื่น
Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้ที่อยู่ปัจจุบัน
Lock เป็นการหยุดการทำงานชั่วคราว
Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องรอบใหม่
Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือให้ระบบหลับชั่วคราว
Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว


เเหล่งอ้างอิง

- หนังสือวิชาการใช้งานระบบปฎิบัติการ
- http://www.windowssiam.com

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4 ประเภทของโปรเเกรมระบบปฏิบัติการ

ความเเตกต่างของระะบบปฏิบัติการ

        ระบบปฏิบัติการชนิดต่างๆ ถูกออกเเบบเเละสร้างขึ้นพื้นฐานของความต้องการที่เเต่กต่างกัน อันได้เเก่
        1.อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
        2.ประเภทของระบบปฏิบัติการ
        3.ชนิดของซิพียูที่สนับสนน
        อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
        อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ สามารถถูกออกเเบบให้อยู่ในรูปเเบบของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือเเบบกราฟิกก็ได้
        อินเตอร์เฟซเเบบสั่ง (Command Line)
        เป็นอินเตอร์เพซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ







        อินเตอร์เฟซเเบบกราฟิก (Graphics User Interface : GUI)
     
        ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบมักถูกออกเเบบเป็น GUI ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามเเล้ว ยังดึงดูดความสนใจเเก่ผูใช้งานให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น





        ประเภทของระบบปฏิบัติการ
        ระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดเเบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

        ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems)
       
        เป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว เช่น
ระบบปฏิบัติการ Windows7,Windows  XP ,Windows  8



        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(Network Operating Systems)

        เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบเครือข่ายเป็นหลัก สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายต่างๆ เช่น Windows Server , Unix



        ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

        โดยทั่วไปเเล้ว ระบบปฎิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูของเครื่องพีซีทั่วไป เครื่อเซิร์ฟเวอร์ หรืออุกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการเเบบ 32 บิต เเละ 64 บิต ให้เลือกใช้งาน นอกจากนี้สถามปัตยกรรมของซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องพีซีทั่วไป ก็ยังมีทั้งซีพียูเเบบ CISC เเละ RISC

ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคลเเละเซิร์ฟเวอร์

        ในหัวข้อนี้ จะขอกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เเละ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้เเก่ ระบบปฏิบัติการ DOS,Windows,windows Server,Mac-OS,Unix เเละ Linux

        ดอส (Disk Operating System :DOS)

        ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวรการเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส 
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
    1. กดปุ่ม Reset
    2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ


ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

วินโดวส์ (Windows)
Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส 

     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น



Windows XP



 


Windows Vista

 


Windows 7


Windows 8
ข้อแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของ Windows 8 (ที่กำลังจะมาในปี 2012 นี้)กับ Windows 7 และรุ่นเก่า ก็คือการออกแบบมาเพื่อให้ทำงานบน Tablet เพิ่มเติมขึ้น นอกเหนือจากใช้บน Desktop และใน Notebook โดย Windows 8 ได้เพิ่ม Interface ใหม่ที่เรียกว่า Metro interface รองรับการทำงานในแบบ touchscreen อย่างสมบูรณ์  ซึ่งจะรองรับชิปประมวลผลประเภท SoC(Systems on a chip) เช่น Nvidia Tegra 2, Qualcomm Snapdragon จึงทำให้สามารถใช้เป็นระบบปฎิบัติการร่วมบน Tablet PC ได้อย่างสมบูรณ์แบบ




                                                                     Windows 8

Windows Server
Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย Server 


Windows Server


        ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
 Symbian
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีโนเกียเป็นหุ้นส่วนใหญ่ และกำลังจะกลายไปเป็น Symbian Foundation (มูลนิธิซิมเบียน) ที่อาจจะเปิดเป็น OpenSource ในอนาคต ซิมเบียน ถือเป็นระบบที่ใช้ทรัพยากรได้ค่อนข้างคุ้มค่ามากกว่าตัวอื่นๆ และมีปัญหาในระบบค่อนข้างน้อย โดยซิมเบียนในปัจจุบัน มี 2 สายคือ สาย S60 (โนเกียเป็นหัวหอกหลัก) และ สาย UIQ (โซนี่อีริคสันเป็นหัวหอกหลัก) แต่ปัจจุบัน S60 ได้รับความนิยมมากกว่า โดยพัฒนามาจนถึงรุ่น 9.3 แล้ว
ระบบปฏิบัติการ Symbian
  1. ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
  2. โปรแกรม Application มีขนาดเล็ก ไม่เปลือง memory
  3. เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถสร้างโปรแกรมหรือเกมส์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งานกับระบบ Symbian ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้าน Software
  4. รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายในรูปแบบใหม่ (Developing wireless service)
  5.  Windows Mobile
    วินโดวส์โมบาย (Windows mobile) คือระบบปฏิบัติการที่เล็กกะทัดรัดประกอบด้วยชุดแอปพลิเคชั่นพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บน Microsoft Win32 API อุปกรณ์ที่ใช้ระบบวินโดวส์โมบายมี พ็อกเก็ตพีซี, สมาทโฟน, ฟอร์เทบายมีเดียเซ็นเตอร์ ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์

     Android
    เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดย Google
    เจ้าพ่อแห่ง Search Engine ที่ไม่มีใครต้านทานได้ เป็นระบบปฏิบัติการหน้าใหม่ที่เปิดเผยรหัส ทำให้ผู้พัฒนาสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้Google Android Phone ถูกแนะนำตัวอย่างเป็นทางการในงานแสดงเทคโนโลยี Mobile World Congress 2008 เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความเคลือบแคลงใจว่าเมื่อไรจะมีสินค้าออกมาจริงๆ และสมาร์ทโฟนที่นำมาออกงานนี้ใช่ตัวจริงหรือเปล่า เพราะดูจากรูปร่างน่าตาแล้วออกไปทางเครื่อง Palm ที่มีแผงแป้นพิมพ์ QWERTY ขนาดค่อนข้างเล็กและมีความบาง อย่างไรก็ตาม Google เคยปล่อยชุดพัฒนาโปรแกรม (SDK – SoftwareDevelopment Kit) ออกมาให้ดาวน์โหลด เพื่อไปต่อยอดหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นใน Google Android Phone ซึ่งในชุด SDK ก็จะพบกับภาพ Emulator เหมือนกับที่เปิดตัวในงานนี้จริงๆ จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าโทรศัพท์มือถือที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Android คือระบบปฏิบัติการ (OS) หรือแพลตฟอร์ม ที่จะใช้ควบคุมการทำงานบนอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ต่างๆ โดยเริ่มใช้แพลตฟอร์มนี้บนโทรศัพท์มือถือ ที่จะออกในนาม Google เป็นอันดับแรก โดย Android เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source คือ สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรม หรือ ต่อยอดแอพพลิเคชั่นได้อย่างอิสระ ไม่มีขีดจำกัด ซึ่งโครงการที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างก็คือ การแข่งขัน Android Developer Challenge เปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรมออกแบบแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ Android เป็นระบบปฏิบัติการระบบเปิดที่สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือทั้งที่มีจอสัมผัสและไม่มี โดยมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป มีโปรแกรมการใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องอินเตอร์เน็ท


เเหล่งอ้างอิง 
-หนังสือวิชาการเขียนระบบปฏิบัติ
-http://www.t1surat.ac.th
-http://www.mindphp.com
-https://angkana05.wordpress.com